การบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม: กรณีศึกษาชุมชนเทพลีลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275130คำสำคัญ:
การบูรณาการความรู้; , สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์;, บริการวิชาการบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม: กรณีศึกษา ชุมชนเทพลีลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดกิจรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย โดยฐานกิจกรรมที่จัดขึ้น คือ ฐานอาหารดีมีประโยชน์ที่สาธิตวิธีการทำ“อมยิ้มแซนวิช” ซึ่งมีการบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลลัพธ์ของการบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และ (2) ศึกษาผลลัพธ์ของการบูรณาการความรู้ในหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
ระเบียบวิธีการวิจัย: ดำเนินการโดยการศึกษาผลลัพธ์ของการบูรณาการความรู้ฯที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ เก็บข้อมูลจากประชาชนในชุมชนเทพลีลา จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขณะที่การศึกษาผลลัพธ์ของการบูรณาการความรู้ฯที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับนักศึกษา จำนวน 3 คน และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตรวจสอบสามเส้า
ผลการวิจัย: (1) ผลลัพธ์ของการบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า (1) ผลลัพธ์ด้านรูปแบบการดำเนินงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ราคาและการส่งเสริมการตลาดมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลลัพธ์ของการบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมพบว่า อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจำนวนทั้งสิ้น 6 ท่าน เกิดผลลัพธ์ในด้านการสอนที่ครอบคลุมใน 3 มิติ คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และทักษะพิสัย ขณะที่นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดผลลัพธ์ในด้านการเรียนที่ครอบคลุมใน 3 มิติ คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และทักษะพิสัย
สรุปผล: จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การบูรณาการความรู้ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์บรรลุผลลัพธ์ทั้งในส่วนของผู้รับบริการที่เป็นประชาชนในชุมชนเทพลีลา และผู้ให้บริการทั้งอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตร
References
กฤชญา พุ่มพิน, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และจุฑาภรณ์ มาสันเทียะ. (2566). การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในการเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพ: กรณีศึกษาชุมชนในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 14(2), 44-58.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการอุดมศึกษา.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2566). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Retrieved September 15, 2023, from: http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_plan/plan-2566-002.pdf
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2566). รายงานการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม คณะศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 2/2566. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชุติเดช สุวรรณมณี. (2566). การพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคม ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2), 159-179.
ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันทางการตลาด บ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 121-130.
ประนอม โอทกานนท์ และพวงผกา คงวัฒนานนท์. (2565). ประสบการณ์การจัดการความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ: การศึกษาติดตามผลจากเรื่องเล่าของแกนนำกลุ่มสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(1), 112-125.
พิมผกา ปัญโญใหญ่, เทวาพร ศุภรักษ์จินดา และวราภรณ์ สระมัจฉา. (2565). การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(4), 124-136.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2565). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Retrieved September 15, 2023, from: http://www.plan.ru.ac.th/database/strategy/ data/5year/Plan5year66_70.pdf
วราพร กรีเทพ. (2563). กระบวนการการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 21(2), 143-158.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). Sustainable Development Goals. Retrieved September 15, 2023, from: https://sdgs.nesdc.go.th
Bhutta, Z. A., Lassi, Z. S., Bergeron, G., Koletzko, B., Salam, R., Diaz, A., & McLean, M. (2019). Delivering an action agenda for nutrition interventions addressing adolescent girls and young women: priorities for implementation and research. Annals of the New York Academy of Sciences, 1444(1), 21-33.
Frenk, J., Gómez-Dantés, O., Moon, S., & From Mexico Commission on Macroeconomics and Health. (2019). From sovereignty to solidarity: a renewed concept of global health for an era of complex interdependence. The Lancet, 393(10187), 2591-2594.
Ghebreyesus, T. A. (2018). All roads lead to universal health coverage. The Lancet Global Health, 6(8), e839-e840.
Gostin, L. O., Friedman, E. A., Buse, K., & Waris, A. (2019). Advancing the right to health—the vital role of law. American Journal of Public Health, 109(8), 1092-1095.
Haines, A., Scheelbeek, P., & Abbasi, K. (2021). Planetary health: a new science for exceptional action. The BMJ, 373, n1451.
Kutzin, J., Sparkes, S. P., & Shaw, P. R. (2019). Can we learn about the quality of health systems from global comparisons of amenable mortality? Global Health Action, 12(1), 1668967.
Kuusisaari, H., Seitamaa-Hakkarainen, P., Autio, M., & Hölttä, M. (2021). The Future of Home Economics Teaching: Teachers’ Reflections on 21st Century Competencies. International Federation for Home Economics, 14(2), 54-68.
Marmot, M., Allen, J., Goldblatt, P., Herd, E., & Morrison, J. (2020). Build Back Fairer: The COVID-19 Marmot Review. The Pandemic, Socioeconomic and Health Inequalities in England. Institute of Health Equity.
Nongna, C., Junpeng, P., Hong-ngam, J., Podjana, C., & Tang, K.N. (2021). Creating Core Competencies and Workload-Based Key Outcome Indicators of University Lecturers’ Performance Assessment: Functional Analysis. Journal of Education and Learning, 10(6), 82-91.
Phiri, A., & Kanyati, M. (2023). The Impact of Provision of Home Economics Skills at Primary, Secondary and Tertiary Levels for Sustainable Social and Economic Development in Communities: the case of Mufulira District of the Copper Belt Province of Zambia. International Journal of Humanities Social Sciences and Education, 10(9), 101-108.
Pitisutti, P., & Kaewjaroen, T. (2022). Development of Home Economics Entrepreneur Indicators for Undergraduate Students. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 18(1), 37-44.
Prüss-Ustün, A., Wolf, J., Bartram, J., Clasen, T., Cumming, O., Freeman, M. C., ... & Cairncross, S. (2019). Burden of disease from inadequate water, sanitation, and hygiene for selected adverse health outcomes: An updated analysis with a focus on low-and middle-income countries. International Journal of Hygiene and Environmental Health, 222(5), 765-777.
Raj, A., Saggurti, N., Winter, M., Labonte, A., Decker, M. R., Balaiah, D., & Silverman, J. G. (2014). The effect of maternal child marriage on morbidity and mortality of children under 5 in India: a cross-sectional study of a nationally representative sample. The BMJ, 348, g425.
Ronto, R., Ball, L., Pendergast, D., & Harris, N. (2016). Food Literacy at Secondary Schools in Australia. Journal of School Health, 86(11), 823-831.
Sachs, J. D., Schmidt-Traub, G., Kroll, C., Lafortune, G., & Fuller, G. (2019). Sustainable development report 2019: transformative pathways to achieve the sustainable development goals. Bertelsmann Stiftung and Sustainable Development Solutions Network (SDSN).
Sen, A. (2002). Why health equity? Health Economics, 11(8), 659-666.
Stenberg, K., Hanssen, O., Edejer, T. T., Bertram, M., Brindley, C., Meshreky, A., & Sheehan, P. (2017). Financing transformative health systems towards achievement of the health sustainable development goals: a model for projected resource needs in 67 low-income and middle-income countries. The Lancet Global Health, 5(9), e875-e887.
United Nations Development Programme [UNDP]. (2020). Global Human Development Report 2020. United Nations Development Programme.
United Nations. (2015). Transforming our world: the 2030 agenda for sustainable development. The resolution was adopted by the General Assembly on 25 September 2015. United Nations.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ