ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • มนต์มนัส บุญชู ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0008-1436-088X
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4381-6128
  • ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4874-2607

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274679

คำสำคัญ:

ปัจจัยสัมพันธ์; , นิสัยในการเรียน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: นิสัยในการเรียนเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้เรียน เพื่อตอบสนองทางการเรียนซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ ปฏิบัติ หรือฝึกฝนจนกลายเป็นนิสัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยในการเรียนที่ดี จึงนำมาสู่การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) สร้างสมการทำนายนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร จำนวน 264 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ

ผลการวิจัย: (1) นิสัยในการเรียน กับเจตคติในการเรียน แรงจูงใจในการเรียน ความวิตกกังวลในการเรียน บทบาทของผู้ปกครอง บทบาทของครู และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.58 โดยชุดตัวแปรอิสระสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรตาม (Adjusted R2) ได้ร้อยละ 31.80 และ (2) ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มากที่สุด คือ เจตคติในการเรียน (b = 0.47) รองลงมา คือ บทบาทของผู้ปกครอง (b = 0.15) และ แรงจูงใจในการเรียน (b = 0.14) ตามลำดับ โดยสมการทำนายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการคัดตัวแปรเข้าสู่สมการแบบ Enter พบว่า สัมประสิทธิ์ถดถอย (b) ของเจตคติในการเรียน แรงจูงใจในการเรียน และบทบาทของผู้ปกครอง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการทำนายในรูปของสมการคะแนนดิบ คือ

นิสัยในการเรียน = 0.50 + 0.52เจตคติในการเรียน* + 0.07แรงจูงใจในการเรียน*+ 0.13บทบาทของผู้ปกครอง*

สรุปผล: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่านิสัยการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากทัศนคติในการเรียน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และแรงจูงใจในการเรียน โดยทัศนคติในการเรียนแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นที่สุด ปัจจัยเหล่านี้อธิบายความแปรปรวนในนิสัยการเรียนรู้รวมกันร้อยละ 31.80 โดยเน้นถึงความสำคัญของทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนและการสนับสนุนจากผู้ปกครองในการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

References

ขจิตา มัชฌิมา, เผ่าไทย วงศ์เหลา, ธนกรสุทธิสนธ์, และ สมพร เทพฉิม. (2564) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(1), 15-30.

ฐาปกร ฤทธิ์มะหา, อลงกลด แทนออมทอง และ ปาริชาติ แสนนา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนชีววิทยาและความเข้าใจแนวคิดทางชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(2), 242 – 252.

ณัฐวุฒิ สุขเสนา (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ (MBA) มหาวิทยาลัยรามคำแหงhttps://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mmm25/63141 31052.pdf

ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์ และ ทศพร แก้วขวัญไกร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ที่เรียนวิชาสถิติสำหรับนักเศรษฐศาสตร์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(2), 199-223.

วราภรณ์ ลวงสวาล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันเพ็ญ ภุมรินทร์, เบญจพร มีพร้อม, นิกร เทพทอง, สิตา สิทธิรณฤทธิ์, กุลศิริ วรกุล, ชนกนาถ จีนศรี และ จริยาภรณ์ ตาปิน. (2563). ทัศนคติในการเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 29-42

ศุภิสรา นาคพจญ. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านวิทยาศาสตร์และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สังกัดฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร. (2564). หลักการสร้างฑฟติกรรมที่ดีให้แก่นักเรียน. Retrieved from: https://www.edbathai.com/Main2/index.php.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ เกษสังข์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดเลย. วารสารการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(37), 241-248.

Bender, A., Hagan, K.E., & Kingston, N. (2017). The association of folate and depression: A meta-analysis. Journal of psychiatric research, 95, 9–18. https://doi.org/10.1016/j.jpsychires. 2017.07.019

Danielsen, A.G. (2009). School-related social support and students perceive life satisfaction. The Journal of Educational Research.Res, 102(4), 303-308.

Deci, E.L., & Ryan, R.M. (2000). The "what" and "why" of goal pursuits: Human needs and the self-determination of behavior. Psychological Inquiry, 11(4), 227-268.

Fan, X., & Chen, M. (2001). Parental involvement and students' academic achievement: A meta-analysis. Educational Psychology Review, 13(1), 1-22.

Gahir, S., Sahu, S., & Sahoo, S. (2022). Relationship between study habits and academic achievement of secondary school students. Contemporary Research in Education and English Language Teaching, 4(1), 1-9.

Hashemian, M. & Hashemian, A. (2014). Investigating study habits of library and information sciences students of Isfahan University and Isfahan University of Medical Sciences. Iran J Med Educ, 14(9), 751–757.

Hero, J.L., DelaCruz, A.C., Paz, R.M., & Caparas, M.E.R. (2021). Integration of E-Learning and its effect on the study habits and participation of junior high school students. International Journal of English and Education, 10(1), 238-250.

Huang, F.L., & Invernizzi, M.A. (2012). Influences of learning and study strategies inventory (LASSI) and motivation on academic achievement of minority college students. Journal of College Student Development, 53(2), 295-309.

Jafari, H., Aghaei, A., & Khatony, A. (2019). Relationship between study habits and academic achievement in students of medical sciences in Kermanshah-iran. Advances in Medical Education and Practice, 10(1), 637-643.

Kamoru, U., & Ramon, O.G. (2017). Influence of self-concept, study habit and gender on attitude and achievement of secondary school students in mathematics. J Leadersh Instruction, 6(1), 49–52.

Lawrence, A. (2014). Relationship between study habits and academic achievement of higher secondary school students. Online Submission, 4(6), 143–145

Odiri, O.E. (2015). Relationship of study habits with mathematics achievement. J Educ Pract, 6(10), 168–170.

Pintrich, P.R., & De Groot, E.V. (1990). Motivational and self-regulated learning components of classroom academic performance. Journal of Educational Psychology, 82(1), 33-40.

Rumberger, R.W. (2011). Dropping out: Why students drop out of high school and what can be done about it. Harvard University Press.

Tus, J., Rayo, F., Lubo, R., & Cruz, M.A. (2020). The learners' study habits and their relation to their academic performance. International Journal of All Research Writings, 2(6), 1-19.

Unal, D.P. (2021). Factor affecting study habits in higher education during the COVID-19 pandemic. Anatolian Journal of Education, 6(2), 109-124.

Uslu, S. & KORUKCU, M. (2021). A mixed analysis of the study habits of middle school students. Journal of Education and Learning, 10(3), 140-148.

Weiner, B. (1972). Attribution theory, achievement motivation, and the educational process. Review of Educational Research, 42(2), 203–215. https://doi.org/10.2307/1170017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-07

How to Cite

บุญชู ม. ., ศรีหาเศษ ก. ., & ทิพยกุลไพโรจน์ ด. . (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 663–676. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274679

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ