การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • ราตรี บุญเกลี้ยง โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี https://orcid.org/0009-0005-4508-3457

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273180

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้; , หนังสืออิเล็กทรอนิกส์; , โรงเรียนพิบูลมังสาหาร

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการร่วมมือกันเรียนรู้จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้สอนในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดทักษะการปฏิบัติในการจัดกระบวนการเรียนรู้หรือส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองจากการลงมือปฏิบัติจริง และแสวงหาความรู้ได้อย่างรู้เท่าทัน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ระเบียบวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ 5) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test

ผลการศึกษา: (1) การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 1) ครูมีความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนมีความต้องการในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์; 1) ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเท่ากับ 82.21/82.83. 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ในวิชาวิทยาการคำนวณด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความเหมาะสมมากทั้งที่เกี่ยวข้องกับครู นักเรียน และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนั้นการใช้รูปแบบการสอนนี้มีผลดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ และทำให้ความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

จารุขจิต ชาวชาติ. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนบนเว็บตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมมือกัน รายวิชาการงานอาชีพ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8 (11), 119-128.

ทรงศักดิ์ สองสนิท และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 179-188.

บรรพต วงศ์ทองเจริญ และคณะ. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2(1), 65-72.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เบญญาลักษณ์ รวยเรืองรุ่ง. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7 (2), 110-121.

ปาณิสรา หาดขุนทด และ ธนากร แสงกุดเลาะ. (2565). การสร้างสื่อการเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย รายวิชาวิทยาการคำนวณระดับประถมศึกษาสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนครู. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(3), 302-313.

ปิยนันท์ ปานนิ่ม. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11 (2), 121-129.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 –20 ปี. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

พิพัฒนพงศ์ พลเยี่ยม. การพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาระคาม, 10(2), 83-116.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์.

รัชพล ครองยุติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนบทเรียนออนไลน์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8 (11), 87-105.

วิทยากร เชียงกูล. (2553). แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา. Retrieved on 1 September 2023 from: http://witayakoronclub.wordpress.coom/.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-28

How to Cite

บุญเกลี้ยง ร. . (2024). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(1), 267–286. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273180