ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตของเด็กวัยอนุบาล
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272063คำสำคัญ:
ปรากฏการณ์เป็นฐาน; , คุณลักษณะกรอบความคิดเติบโต; , เด็กวัยอนุบาลบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ น่าสนใจสำหรับเด็ก และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโต การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานคือการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงรอบตัวเด็ก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตของเด็กวัยอนุบาลก่อนและหลังการทดลอง
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยอนุบาล อายุ 3 – 4 ปี จำนวน 25 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 50 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง รวม 8 สัปดาห์ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์จำแนกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ (1) เลือกปรากฏการณ์ที่สนใจและสังเกตปรากฏการณ์ที่ศึกษาร่วมกัน (2) กำหนดปัญหาและตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่สนใจ (3) การลงมือปฏิบัติผ่านวิธีการสืบเสาะโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (4) นำเสนอข้อมูล สะท้อนคิด และประเมินตามสภาพจริง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย: (1) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 0.81 แสดงว่า เด็กวัยอนุบาลมีการพัฒนาคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 81.27 และ (2) เด็กวัยอนุบาลมีคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สะท้อนให้เชื่อว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตของเด็กวัยอนุบาลได้
สรุปผล: การวิจัยพบว่าการใช้ปรากฏการณ์ในแผนการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กวัยอนุบาลพัฒนาคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 81.27 และมีความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลทำให้เชื่อว่าแผนการนี้เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างพัฒนาการความคิดเติบโตของเด็กวัยอนุบาลได้และมีผลสำคัญทางสถิติ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบส บุ๊คส์
ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 113-129.
ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก และอรทัย อนุรักษ์วัฒนะ. (2563) ผลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณาญาณของนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปกร. 20 (1), 257-273.
นพรดา คำชื่นวงศ์. (2563). การพัฒนากรอบความคิดที่ถูกต้องของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 14(2), 12-22.
วัฒนชัย วินิจจะกูล. (2564). การศึกษาไทยกับโลกยุคใหม่: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(3), 11-21.
ศูนย์จิตวิทยาการศึกษามูลนิธิยุววสถิรคุณ. (2558). การพัฒนากรอบความคิด Growth Mindset. Retrieved from: https://pubhtml5.com/tdpk/whwk/basic/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา. สืบค้น 12 มกราคม 2566. จาก https://www.thaihealth.or.th/ส่งเสริมกิจกรรมทางกายใ-2/
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 46(2), 348-365.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2563). หลักสูตร : การคิดเชิงคำนวณกับกิจกรรมประจำวันของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ:ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Alerson, L. (2017). Growth Mindset: The Door to Achieving More. Retrieved, 12 January 2023.https://www.free-ebooks.net/ebook/Growth-Mindset-The-Door-to-Achieving-More/pdf?dl&preview
Andersen, S.C., & Nielsen, H.S. (2016). Reading intervention with a growth mindset approach improves children’s skills. Proceedings of the national academy of sciences, 113(43), 12111-12113.
Apergi, A., Anagnostopoulou, A., & Athanasiou, A. (2015). E-Learning for Elementary Students: The Web 2.0 Tool Google Drive as Teaching and Learning Practice. World Journal of Education. 5 (3), 1-7. DOI: https://doi.org/10.5430/wje.v5n3p1
Bredekamp, S., & Copple, C. (1997). Developmentally Appropriate Practice in Early Childhood Programs. (Revised Edition). Washington, DC: NAEYC.
Campbell, J.T. (2019). COSMIC: the catalog of somatic mutations in cancer. Nucleic acids research, 47(D1), D941-D947.
Daehler, K., & Folsom, J. (2016). Making Sense of SCIENCE: Phenomena-Based Learning. Retrieved, 12 January 2023. from http://www.WestEd.org/mss
Dweck, C., Walton, G., & Cohen, G. (2014). Academic Tenacity: Mindset and Skills that Promote Long–Term Learning.
Dweck, C.S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success: How We Can Learn to Fulfill our Potential. New York, NY: Ballantine.
Fogarty, R. (2016). Invite Excite Ignite: 13 Principles for Teaching, Learning, and Leading, K – 12. New York, NY: Teachers College Press.
Gunderson, E., Gripshover, S., Romero, C., Dweck, C., Goldin-Meadow, S., & Levine, S. (2013). Parent Praise to 1- to 3-Year-Olds Predicts Children's Motivational Frameworks 5 Years Later. Child development. 84 (5),. Doi:10.1111/cdev.12064.
Illinois Center for School Improvement (2016). Habits of Mind-Developing a Growth Mindset. Material for the Illinois Center for School Improvement, a Partnership between the Illinois State Board of Education and the American Institute for Research, is Federally Funded Unless Otherwise Noted.
Kompa, J.S. (2017). Remembering Prof. Howard Barrows: Notes on Problem-Based Learning and the School of the Future. Retrieved July 6, 2018 from: https://joanakompa.com/2017/02/28/remembering-prof-howard-barrows-a-small-note-on-the-school-of-the-future-and-the-future-of-learning/
NICHD Early Child Care Research Network (1997). The Effects of Infant Child Care on Infant-Mother Attachment Security: Results of the NICHD Study of Early Child Care. Child Development, 68, 860-879. https://doi.org/10.1111/j.1467-8624.1997.tb01967.x
OECD (Organisation for Economic Co-Operation and Development). (2019). Education at a Glance 2019: OECD Indicators. OECD Publishing. https://doi.org/10.1787/f8d7880d-en
Silander, P. (2015). Phenomenon-based learning rubric. Retrieved, 12 January 2023. From: http://nebula.wsimg.com/c58399e5d05e6a656d6e74f40b9e0c09?AccessKeyId=3209BE92A5393B603C75&disposition=0&alloworigin=1
Stanger, N. (2015). What is the relationship between outdoor time and physical activity, sedentary behavior, and physical fitness in children? A systematic review.International journal of environmental research and public health, 12(6), 6455-6474.
Thorndike, E.L. (1913). Education Psychology: Briefer Course. Routledge, New York.
Weber, J. (2018). Growth Mindset Interventions: Lessons from Across Domains. Netherlands: University of Groningen.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Sirikhwan Niyomphon, Siraprapa Phruttikul, Chaweng Sonboon

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ