การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.270915คำสำคัญ:
การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ; , การนำตนเอง; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพและได้ผลสำเร็จตามหลักสูตรนั้น ผู้สอนต้องยึดหลักการการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น กิจกรรมต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบตนเอง ค้นพบความเข้าใจสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือเป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือของนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาความสามารถการนำตนเองในกิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือของนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือของนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมเวลา 24 ชั่วโมง แบบประเมินความสามารถการนำตนเอง เป็นแบบสังเกต 8 ด้าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent samples)
ผลการวิจัย: (1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย มีองค์ประกอบของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ หัวเรื่อง สาระสำคัญ มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ จุดประสงค์การเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยมีรายละเอียดขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นการระบุหัวข้อ (identifying the topics) ขั้นการวางแผนภายในกลุ่ม (Planning the investigation in group) ขั้นการลงมือแสวงหาความรู้ (Carrying out the investigation) ขั้นการเตรียมรายงานกลุ่ม (Preparing a group report) ขั้นการนำเสนอรายงานกลุ่ม (Presenting a group report) และขั้นการประเมินผล (Evaluating) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.97/80.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้ (2) นักศึกษามีความสารถการนำตนเองในกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับดี (3) นักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุปผล: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงสร้างที่ครอบคลุมและนักศึกษาแสดงความสามารถในการนำตนเองในกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือได้ดี ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มสูงขึ้นและความพึงพอใจในกิจกรรมนี้อยู่ในระดับมาก
References
เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กระทรวงศึกษาธิการ, (2551), หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กันตาภา สุทธิอาจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ และเสาวภา วิชาดี.(2555). การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียน. วารสารนักบริหาร. 32(2), 143-149.
พงศ์พัชร์ รัตนะ และวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 652-661.
ภาพพิมพ์ เชื้อทหาร และ วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการน าตนเองโดยใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ที่มีต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. OJED, 16 (2), 1-15.
วัชราพรรณ์ สอนจินซือ (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บด้วยเทคนิคกลุ่มสืบสวนสอบสวน เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 1(1), 62-71.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแกดำ. (2561).รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report) ประจำปี พ.ศ. 2561. มหาสารคาม: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแกดำ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ฉบับที่ 5 ค่าสถิติพื้นฐานสำหรับอำเภอจำแนกตามรายวิชา อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ภูมิภาค สถาบัน กศ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาระความรู้พื้นฐาน (422). Retrieved from: http://www.allnetresult.niets.or.th/NNET/AnnouncementWeb.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.
อัศวี เมมิยานนท์ สมศิริ สิงห์ลพ นพมณี เชื้อวัชรินทร์ และมันทนา เมมิยานนท์ (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago, IL: Follett Publishing Company.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice. Boston: Allyn & Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Kanlayanee Khamlue, Wanida Pharanat

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ