ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของร่างกายและความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษาชายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ผู้แต่ง

  • สิทธิพร พันธุ์พิริยะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0009-0000-9550-8445
  • ประกิต หงษ์แสนยาธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0009-0009-2196-0258
  • ยูรสิน วัฒนพยุงกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0009-0001-0414-7099
  • พิชยา นพกาล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ https://orcid.org/0009-0007-7894-7658

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.148

คำสำคัญ:

องค์ประกอบของร่างกาย; , ความคล่องแคล่วว่องไว

บทคัดย่อ

ขนาดและองค์ประกอบของร่างกายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อความสามารถของบุคคลในการเคลื่อนไหวร่างกายเราจะเห็นว่าคนที่มีลักษณะอ้วนจะเคลื่อนไหวได้ช้ากว่าคนที่มีลักษณะปกติหรือความสามารถด้านความคล่องแคล่วว่องไวลดลง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของร่างกายและความคล่องแคล่วว่องไว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน กลุ่มตัวอย่างทำการวัดองค์ประกอบของร่างกาย คือ Body mass index (BMI) เปอร์เซ็นต์ไขมัน ระดับไขมันในช่องท้อง ระดับกล้ามเนื้อในร่างกาย และน้ำหนักกระดูก จากเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดองค์ประกอบของร่างกาย Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) หลังจากนั้นทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวด้วยแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวประกอบไปด้วย แบบทดสอบ t-test แบบทดสอบ FAF’s Slalom test แบบทดสอบ SEMO test และแบบทดสอบ 5-10-5 Agility testผลการวิจัยพบว่า BMI มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำกับการทดสอบ t-test (r=.334*) เปอร์เซ็นต์ไขมันมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำกับการทดสอบ t-test (r=.441**) ระดับไขมันในช่องท้องมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำกับการทดสอบ t-test (r=.409*) ระดับมวลกล้ามเนื้อความสัมพันธ์ในทิศทางลบระดับต่ำกับการทดสอบ t-test (r=-.400*) และมวลกระดูกมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำกับการทดสอบ t-test (r=.396*) ดังนั้นจากข้อมูลที่ปรากฏสรุปได้ว่า BMI ในระดับที่ปกติ ค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและระดับไขมันในช่องท้องที่ต่ำ ค่าน้ำหนักของมวลกระดูกในร่างกายที่น้อย และปริมาณของกล้ามเนื้อในร่างกายที่ดีส่งผลทำให้ความคล่องแคล่วว่องไวมีประสิทธิกภาพมากขึ้น

References

บุญร่วม เทียมจันทร์ และ ศรัญญา วิชชาธรรม (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ : The Law Group.

Aurelio, J., Dias, E., Soares, T., Jorge, G., Espada, M. A. C., Filho, D. M. P., Pereira, P., & Figueiredo, T. (2016). Relationship between Body Composition, Anthropometry, and Physical Fitness in Under-12 Soccer Players of Different Positions. Int J Sports Sci, 6(1A), 25-30.

Diego, H. F., Diogo, H. F., Antonio, C. D., Luiz, C. R. S., & Helcio, R. G., (2021). Evaluation of body composition and its relationship with physical fitness in professional soccer players at the beginning of pre-season. Retos, 40, 117-125.

Hinkle, D.E., William, W., & Stephen G.J., (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th edition. New York: Houghton Mifflin

Hondt, E. D., Deforche, B., De Bourdeaudhuij, I., & Lenoir, M. (2009). Relationship between motor skill and body mass index in 5- to 10-year-old children. Adapted Physical Activity Quarterly, 26(1), 21-37

Kostopoulou, E., Avgeri, A., Skiadopoulos, S., Dimitriou, G., Giannakopoulos, I., (2021). The association between excess weight and body composition measurements in a pediatric population. Journal of Pediatrics, Perinatology, and Child Health, 5, 142-157.

Landry, B. W., & Driscoll, S.W., (2012). Physical activity in children and adolescents. PM&R, 4(11), 826-832.

Nićin, Đ., (2000). Antropomotorika. [Anthropomotorics]. Novi Sad: Fakultet fizičke culture.

Parseh, A., & Solhjoo, M. H., (2015). Studying the relationship between body mass index with speed, agility, and balance in male students of 15-13 years old. Indian Journal of Fundamental and Applied Life Sciences, 5(S2), 382-387.

Silassie, A. G., & Demena, T., (2016). A study of agility, coordination, and speed as related to dribbling and kicking performance of Jimma, Woliso, and Sebeta town male football players. Journal of Physical Education Research, 3, 47-55.

Simmonds, M., Llewellyn, A., Owen, C. G., & Woolacott, N., (2016). Predicting adult obesity from childhood obesity: A systematic review and meta-analysis. Obesity Reviews, 17(2), 95-107.

Ugarković, D., (2001). Osnovi Sportske Medicine (The Basics of Sports Medicine In Serbian). Beograd: Viša škola za sportske trenere.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-04

How to Cite

พันธุ์พิริยะ ส. ., หงษ์แสนยาธรรม ป., วัฒนพยุงกุล . ย. ., & นพกาล พ. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของร่างกายและความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษาชายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 557–566. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.148