ปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.125

คำสำคัญ:

การระดมทรัพยากร; , การส่งเสริมการจัดการศึกษา; , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

บทคัดย่อ

การระดมทรัพยากรอีกด้านหนึ่ง ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนสามารถดำเนินการได้ตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งการระดมทรัพยากรนั้นมีรูปแบบที่หลากหลาย แตกต่างกันตามบริบทของสถานศึกษานั้นๆ ระหว่างสถานศึกษาของรัฐ เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา และ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา จำแนกตามสถานะ อายุ และฝ่ายงานที่รับผิดชอบ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 3,341 คน โดยมีกลุ่มตัวย่าง จำนวน 345 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรมาใช้เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา พบว่า (ก) จำแนกตาม สถานะโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันในด้านกฎหมาย (ข) จำแนกตาม อายุ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกัน ในด้านแรงจูงใจ และ (ค) จำแนกตามฝ่ายงานที่รับผิดชอบ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกัน ในด้านการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการระดมทรัพยากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Arts Management. 5(2), 501-512.

จันทิมา อัชชะสวัสดิ์. (2556). คู่มือการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัย.

เทพสุดา คำภักดี. (2564). นโยบายเรียนฟรี 15 ปี. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2562). การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. สุทธิปริทัศน์, 33(106), 1-16.

รพิรัตน์ ตะเภาสิรวิทย์ และเพ็ญวรา ชูประวัติ. (2564). แนวทางการระดมทรัพยากรของโรงเรียนวัดราชบพิธตามแนวคิดการเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพัน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ฉบับพิเศษ ครบรอบ 15 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ธันวาคม 2564). 246-261

รพีพรรณ ปัญญา. (2564). องค์ประกอบการระดมทรัพยากรทางการศึกษา. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564.

สติวณิตย์ เชยชัยภูมิ. (2564). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็ก. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Yamane, T.,(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-21

How to Cite

คำเลิศ ม. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(3), 211–226. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.125