ความต้องการการนิเทศการสอนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.36คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น; , การนิเทศการสอนบทคัดย่อ
กระบวนการจัดการศึกษาของครูต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ในการจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องจัดให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและพัฒนาการของผู้เรียน การนิเทศการศึกษาจึงนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของครูและการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครู และ (2) เปรียบเทียบระดับความต้องการการนิเทศการสอนของครู จำแนกตาม ระดับชั้นที่สอน ตำแหน่งทางวิชาการ ระดับการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ศึกษาครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 322 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ความต้องการการนิเทศการสอนของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความต้องการการนิเทศการสอนของครู อยู่ในระดับมากทุกข้อ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความต้องการการนิเทศการสอนของครู จำแนกตาม ระดับชั้นที่สอน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตาม ตำแหน่งทางวิชาการ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตาม ระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านต่างกันในด้านขั้นเตรียมการ และด้านขั้นดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เทียมรัตน์ คงทนต์. (2554). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรในบริษัท ทีเอสทีเมทัลเวิร์ค จำกัด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ธเนศ ขำเกิด. (2556). ระบบและกระบวนการนิเทศการศึกษา. วิทยาจารย์, 112 (7), 30-32.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วรวิทย์ ประทีป ณ ถลาง. (2564). ความคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครูในโรงเรียนภายในสหวิทยาเขตวังทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (2), 46 -57.
วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(9), 374-386.
สมชาย รัตนทองคำ. (2556). การพัฒนารูปแบบกาสอนเพื่อเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสําหรับนักศึกษากายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมหวัง พันธะลี. (2565). การศึกษาผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะ และการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14 (1), 308 – 320.
สหัสนัยน์ กฤษณสุวรรณ. (2561). ความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15(2), 544-551.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Journal of Education and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
Rifma Rusli. (2021). Supervision content needs analysis for a teacher sustainability professional program. Journal Ta'dib distribute, 24 (2),205 – 216.
Watson, G. & Glaser, E. M. (1964). Wattson - Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. New York: Harcourt, Brace and World.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Natkrita Seethim

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ