การดำเนินงานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.25คำสำคัญ:
กิจกรรมนักเรียนนักศึกษา; , สภาพการดำเนินงาน; , องค์การนักวิชาชีพบทคัดย่อ
งานกิจกรรมนักศึกษาเป็นหน่วยงานหนึ่งในสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมดูแล และรับผิดชอบการดำเนินการจัดกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา การดำเนินงานจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษามีความพร้อมในการประกอบอาชีพได้ตามความคาดหวังของสังคม เพราะเป็นการจัดบริการและเป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดให้นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา ตามระเบียบองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติหน้าที่งานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษาตามระเบียบองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 456 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test , F-test (One way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการดำเนินงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา ตามระเบียบองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา ตามระเบียบองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ของผู้ที่เกี่ยวข้องงานกิจกรรมการนักเรียน นักศึกษา จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
References
จักรินทร์ โกละกะ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี. วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี
ชนะจิต คำแผง และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ และการศึกษาสภาพการด าเนินงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษาตามระเบียบองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคเหนือ. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 9(2), 202-217.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญตา มหาสุชลน์. (2560). การศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านคุณธรรม จริยธรรมของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
เพลินจิต ชุมสุข (2563). สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 : กรณีศึกษา โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12 (1), 590- 600.
วราภรณ์ บุญดอก. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมพร โพธิ์กำเนิด. (2557). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกิจการนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). ยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
อธิป สิทธิ. (2561). การบริหารงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
อะห์มัด ยี่สุ่นทรง. (2562). การดำเนินงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Krejcie, R.v.& Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Jour of education and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Bussarin Boonkor

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ