การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย

ผู้แต่ง

  • สุชาติ แวงโสธรณ์ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://orcid.org/0000-0002-6329-7089

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.152

คำสำคัญ:

การนิเทศภายใน; , กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง; , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

บทคัดย่อ

งานนิเทศการศึกษาซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนให้เกิดคุณภาพจึงได้วิเคราะห์และออกแบบการดำเนินการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปพร้อม ๆ กับพัฒนานักเรียนผ่านระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3) ทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยใช้การวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอนตามความมุ่งหมายของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ทีมนิเทศ จำนวน 12 คน และผู้รับการนิเทศ จำนวน 73 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของทีมนิเทศ/ผู้รับการนิเทศ แบบตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงแบบทดสอบด้านความรู้ก่อน และหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการสอนเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบบันทึกผลการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง แบบบันทึกการรับการนิเทศด้วยกระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง แบบตรวจสอบพฤติกรรมการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงสำหรับทีมนิเทศ แบบตรวจสอบพฤติกรรมการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงสำหรับผู้รับการนิเทศ แบบประเมินรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและพรรณนาความ และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (ก) การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ข) การให้ความรู้การนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง และ (ค) การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลโดยใช้ระบบการนิเทศภายในซึ่งมีรูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน (2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีองค์ประกอบหลัก คือ หลักการ และเงื่อนไขสำคัญ ซึ่งมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ (ก) ขั้นเตรียมทีมก่อนการนิเทศ (ข) ขั้นวางแผนและออกแบบการนิเทศแบบองค์รวม (ค) ขั้นใช้รูปแบบการนิเทศ (ง) ขั้นนิเทศด้วยกระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง (จ) ขั้นจัดการความรู้หลังการนิเทศ (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า คะแนนเฉลี่ยของทีมนิเทศหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม ซึ่งคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมเท่ากับ 14.47 คะแนน และคะแนนหลังการอบรมเท่ากับ 16.53 คะแนน ผลต่างของคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34 และคะแนนเฉลี่ยของผู้รับการนิเทศหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมเช่นเดียวกัน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมเท่ากับ 10.40 คะแนน และคะแนนหลังการอบรมเท่ากับ 11.87 ผลต่างของคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.67 จากข้อมูลคะแนนดังกล่าว การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ มีแนวโน้มช่วยพัฒนาให้ทีมนิเทศและผู้รับการนิเทศ มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง (4) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงฯ ก่อนนำรูปแบบไปใช้ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ THUNG Model ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

References

ณัฐชา จันทร์ดา (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง)เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2549). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เบญจมาศ ชาติศักดิ์ยุทธ. (2560). รูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 .อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย

วชิรา เครือคำอ้าย.(2558). ตำราการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่ : ส.การพิมพ์.

วนิดา ภูวิชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีณา ก๊วยสมบูรณ์. (2547). การพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาปรัชญาการศึกษาส่วนบุคคลของครูประจำการระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย เทพแสง. (2547). “E-Leadership : ผู้นําการศึกษาในยุคดิจิตอล,”. วารสารวิทยาจารย์. 5, 2-14 ;

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ:หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารหมายเลข1/2562

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุนีย์ ดอกดวง. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(3), 173-182.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). “การปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ,”. วารสารวิชาการ. 5(6), 22-28.

Britton, L. R., & Anderson K. A. (2009). Peer Coaching and pre-service teachers: Examination an underutilized concept. Teaching & Teacher Education. 1-9. Doi:10.1016/j.tate.2009.03.008.

Cogan, Morris L.(1973). Clinical Supervision. Boston: Houghton Mifflin Company.

Glickman, C.D. (1981). Developmental Supervisor : Alternative Practices for Helping Teachers Improve Instruction. Washington D.C. : Development.

Mink, O.G., Owen, K.Q. & Mink, B.P. (1993). Developing high-performance people : The art of coaching. Reading, Massachusetts : Addison-Wesley.

Sergiovanni, T. (1998A). “Leadership as pedagogy, capital development and school effectiveness”. International Journal of Leadership in Education. 1 (1), 37-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-21

How to Cite

แวงโสธรณ์ ส. . (2022). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 363–384. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.152