ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา เรื่องกิจกรรมลูกเสือสามัญ โดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยการเรียนรู้แบบประสบการณ์เป็นฐานของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สุภัตรา สาขา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0002-8375-3301
  • รุ่งทิวา ปราบริปู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0001-6689-237X
  • จารุวรรณ เลียวฤวรรณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0003-4787-7734
  • กฤษณา คิดดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0002-7338-6309
  • ธนัชพร มั่นเจ๊ก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0003-1840-4356

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.136

คำสำคัญ:

ลูกเสือสามัญ; , ความพึงพอใจ; , การเรียนรู้แบบประสบการณ์เป็นฐาน

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา จึงมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนกับนักศึกษาวิชาชีพครูที่จำเป็นต้องเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรม การประยุกต์การออกแบบกิจกรรม สืบค้นศึกษาความเป็นไปได้ แนวคิดอย่างสร้างสรรค์ ที่จะนำไปใช้ในให้เหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพและบริบทของนักเรียนและโรงเรียน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาเรื่องกิจกรรมลูกเสือสามัญด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่ใช้ประสบการณ์เป็นฐานของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 33 คน และบุคลากรครูในโรงเรียนจำนวน 35 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแปลผล 5 ระดับ โดยใช้ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์อัลฟา มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.86 – 1.00 ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการจัดการเรียนการสอนวิชาลูกเสือสามัญ มีค่าในระดับมากที่เกณฑ์การแปลผลรายบุคคลมีค่าระดับมากที่สุด 20 คน และความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียนที่มีต่อนักศึกษาในการสอนวิชาลูกเสือพบว่ามีค่าในระดับมากที่สุดเกณฑ์การแปลผลรายบุคคลมีค่าระดับมากที่สุด 18 คน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

ตรีนุช เทียนทอง. (2564). ความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในโรงเรียน. [Online] https://www.moe.go.th/ [15 กันยายน2565]

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). โปรแกรมวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานจากเครื่องมือวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรเทพ รัตนติสรอย. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนนาฮีนุเคราะหสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต1. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 2 (5), 559-576.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2562). หลักสูตรสาขาวิชาการประถมศึกษาครู 4 ปี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

รวิ เต็มวนาวรรณ. (2563). การบริหารงานลูกเสือกลุ่มโรงเรียนทับใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชจำกัด.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : บริษัท อาร์ แอนด์ ปรินท์ จํากัด.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สํานักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน. (2554). สารานุกรมลูกเสือ 100 ปี ลูกเสือไทย เล่ม 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สินอุดม.

สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต6. (2565). มาตรการและแนวทางยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา. [Online]. http://https://scout.nma6.go.th/847. [7 กันยายน 2565].

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.

สิทธิกานต์ นาคเงิน. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนในเครือข่ายที่ 50 ของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. [Online]. http://www.edu-journal.ru.ac.th/. [8 สิงหาคม 2565].

อรรถพล ส่งอัมพร. (2564). การบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. [Online]. http://ithesis-ir.su.ac.th/d. [10 กันยายน 2565].

Girl Scout Research Institute. (2022.). How Girl Scouting Benefits Girls. [Online]. https://www.girlscouts.org/content/dam/girlscouts-gsusa/forms-and-documents/about-girl-scouts/research/how-GS-benefits-girls.pdf. [September 15, 2022].

Saul McLeod. (2017). Kob’s Learning Styles and Experiential Learning Cycle. [Online]. https://www.simplypsychology.org/learning-kolb.html. [October 30, 2022].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02

How to Cite

สาขา ส. ., ปราบริปู . ร. ., เลียวฤวรรณ์ จ. ., คิดดี ก. ., & มั่นเจ๊ก . ธ. . (2022). ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา เรื่องกิจกรรมลูกเสือสามัญ โดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยการเรียนรู้แบบประสบการณ์เป็นฐานของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 77–94. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.136