รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.138คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการความรู้; , การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม; , กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทบทคัดย่อ
นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2560-2564 ที่สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติดังจะเห็นได้จากการส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สร้างงานให้กับประชาชนและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งโฮมสเตย์เป็นธุรกิจที่ให้บริการด้านที่พักและนำเที่ยวแบบสัมผัสวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นได้สัมผัสธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของชุมชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการจัดบริการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท (2) ศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท (3) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ทำการวิจัยเป็นพื้นที่ที่เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมที่เป็นชาวผู้ไท จำนวน 8 ชุมชน ของจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมุกดาหาร ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรนณา ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวมีการจัดการความรู้ 4 ด้าน คือ 1.1) ด้านทรัพยากรชุมชนชาวผู้ไท 1.2) ด้านการสร้างกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว 1.3) ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย และ 1.4) ด้านการบริหารจัดการรายได้และผลประโยชน์ (2) ปัจจัยเงื่อนไขที่ความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดการความรู้ ได้แก่ 2.1) สภาพบริบทชุมชนชาวผู้ไท 2.2) บทบาทภาวะผู้นำ 2.3) การบริหารจัดการความรู้ขององค์กร 2.4) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2.5) เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้ 2.6) การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และ 2.7) การได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการภายนอก และ (3) รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย พบว่า ชุมชนชาวผู้ไทที่สามารถจัดการความรู้ได้ในระดับดี จะมีรูปแบบขั้นตอนการจัดการความรู้ ครบทั้ง 6 ขั้นตอน คือ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การถ่ายทอดความรู้ การจัดเก็บความรู้ การใช้ความรู้ และการประเมินผลการจัดการความรู้
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). นโยบายและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
จตุพร หล้าใจ. (2550). กระบวนการเรียกร้องสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำฝาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชูศักดิ์ อินทมนต์. (2562). รูปแบบการจัดการธุรกิจนวัตกรรมโฮมสเตย์ในชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(6), 85-103.
ณัฐชา ธนาภรณ์, กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ, ภูษณิศา เตชเถกิง และปรีดา ศรีนฤวรรณ. (2564). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจโฮมสเตย์ ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษา หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ประภาพรรณ อุ่นอบ. (2549). หน่วยการจัดการความรู้ภาคประชาสังคม. ฝ่ายติดตามประเมินผลภายในและสังเคราะห์องค์ความรู้ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลิฟวิง.
ยุวนุช ทินนะลักษณ์. (2549). ปริศนาภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.
ระชานนท์ ทวีผล. (2562). แนวทางการจัดการอัตลักษณ์โฮมสเตย์ไทย กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 14(48), 22-33.
วิชชุดา ให้เจริญ. (2556). การจัดการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สงกรานต์ ถุงแก้ว. (2550). การพัฒนาศักยภาพโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวธรรมชาติ บ้านต้นเกลือ อำเภอลับแล จังหงัดอุตรดิตถ์. รายงานวิจัย. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2556). ทุนทางสังคมกับแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชาวไทยพวน อ.ปากพลี จ.นครนายก. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 16 (1).
Meyer, M., & Zack, M. (1996). The design and implementation of information products. Sloan Management Review. 37 (3), 43 – 59.
Wiig, K. (1993). Knowledge Management Foundations. Arlington, TX: Schema Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บุญช่วย มหิวรรณ, วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล, ทิพาพร สุจารี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ