การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นในจังหวัดลำปางเพื่อพัฒนาการอ่านและการคิดวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • พชรวลี กนิษฐเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://orcid.org/0000-0002-5366-6135

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.128

คำสำคัญ:

การใช้วรรณกรรมท้องถิ่น; , การอ่าน; , การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การคิดวิเคราะห์เป็นทักษะที่สำคัญประการหนึ่งในคุณลักษณะอันพึงปรารถนาของโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจำแนกแยกแยะและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล การตีความ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจและวิเคราะห์ข้อมูล บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างแผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนจากการวิเคราะห์เนื้อหาที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์จากวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปาง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้วรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปางเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา English for study skills ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคการศึกษาที่ 2/2564 จำนวน 2 SECTIONS ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบในการสอน จำนวน 37 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนวิชา English for study skills ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียน ที่วิเคราะห์เนื้อหาที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์จากวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปาง จำนวน 17 แผน และวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปาง จำนวน 3 เรื่อง ประเมินการอ่านและการคิดวิเคราะห์ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 30 ข้อที่ผ่านการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของแผนการสอนฯ ด้วยการหาค่าประสิทธิภาพตามวิธีการทางสถิติโดยใช้เกณฑ์ E1/E2 = 80/80 ใช้สถิติร้อยละ ผลการทดสอบก่อน และหลังเรียน เปรียบเทียบหาความแตกต่างโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test (Dependent sample) ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า แผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียน จากการวิเคราะห์เนื้อหาที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาทักษะการอ่าน และการคิดวิเคราะห์ จากวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปางมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.99/80.09 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จากการใช้วรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปางเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 16.14 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 24.03 และมีค่า t-test เท่ากับ 27.04 ดังนั้นผลคะแนนทดสอบที่แสดงถึงทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2559). หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2559. ลำปาง: กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ไพศาล กรุมรัมย์. (2556). การศึกษาโลกทัศน์ในหนังสืออ่านนอกเวลาวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลลิตา วิบูลวัชร. (2561). การจัดการเรียนการสอนวรรณกรรมภาษาอังกฤษตามแนวคิดการตอบสนองของผู้อ่าน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ภาษาปริทัศน์, 33, 218 - 240.

วิชัย วงศ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11 (3), 179 – 191.

ศุภวรรณ มองเพชร. (2556). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2563). การคิดวิเคราะห์ : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบแวดวงวรรณกรรมร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง. วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี. 7 (1), 35 – 62.

Shukri, N. A., & Mukundan, J. (2015). A Review on Developing Critical Thinking Skills through Literary Texts. Advances in Language and Literary Studies. 6 (2), 4 - 9.

Teachthought Staff. (2022). What Are Critical Thinking Questions For Any Content Area? [Online] https://www.teachthought.com/critical-thinking/critical-thinking-questions/ [16 July 2022]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-30

How to Cite

กนิษฐเสน พ. . (2022). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นในจังหวัดลำปางเพื่อพัฒนาการอ่านและการคิดวิเคราะห์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 837–844. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.128