การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน เอฟ.เอ็ม. เพื่อการประมูลในกิจการกระจายเสียงในระบบแอนะล็อก

ผู้แต่ง

  • กีรติ อาภาพันธุ์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ https://orcid.org/0000-0002-1883-6303
  • ศักดิ์ดา มะเกลี้ยง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ https://orcid.org/0000-0003-2137-6819
  • ปรเมธ บุญมี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ https://orcid.org/0000-0003-1032-436X

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.142

คำสำคัญ:

การประเมินมูลค่า; คลื่นความถี่; , บริการกระจายเสียง; , การประมูลคลื่นความถี่; , มูลค่าคลื่นความถี่

บทคัดย่อ

การศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน เอฟ.เอ็ม. เพื่อการประมูลในกิจการกระจายเสียงในระบบ แอนะล็อก มีวัตถุประสงค์เพื่อหามูลค่าคลื่นความถี่ ย่าน เอฟ.เอ็ม. ของกิจการกระจายเสียงของประเทศไทย และมูลค่าขั้นต่ำสำหรับใช้การประมูลคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง โดยใช้ข้อมูลผลการประมูลกิจการกระจายเสียง ข้อมูลทางเทคนิค และข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศไทย มาใช้ในประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ 3 วิธี ได้แก่ (1) การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ด้วยวิธีการเปรียบเทียบ (2) การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ด้วยวิธีเศรษฐมิติ  และ (3) การประเมินมูลค่าคลื่นวิทยุกระจายเสียงด้วยวิธีแบบจำลองทางธุรกิจ  ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าคลื่นความถี่ที่ได้จากการประเมินด้วยวิธีเศรษฐมิติ อาจไม่น่าเชื่อถือเนื่องจากแบบจำลองไม่เป็นไปตามคุณสมบัติที่ดีของค่าประมาณการตามระเบียบวิธีกำลังสองน้อยที่สุด หรือ BLUE และอาจนำมาซึ่งความผิดพลาดแบบที่หนึ่งได้ ในขณะวิธีการเปรียบเทียบ พบว่า มีมูลค่าคลื่นความถี่ในแต่ละสถานีมีมูลค่าสูงหรือต่ำเกินไปไม่สอดคล้องกับข้อมูลทางกายภาพเชิงพื้น ตัวแปรทางเศรษฐกิจ บริบทการประกอบกิจการกระจายเสียงของประเทศไทย ดังนั้นการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน เอฟ.เอ็ม. ในครั้งนี้จึงเลือกใช้วิธีแบบจำลองทางธุรกิจ เนื่องจากได้กำหนดสมมติฐานและข้อมูลที่สอดคล้องกับประเทศไทย โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง ด้านธุรกิจ สภาพเศรษฐกิจของพื้นที่ให้บริการ ความครอบคลุมประชากรในพื้นที่ให้บริการ รวมถึงปัจจัยต้นทุนของการให้บริการตลอดระยะเวลาของการให้บริการ และความสามารถในการเข้าร่วมประมูลของผู้ประกอบกิจการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ โดยมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน เอฟ.เอ็ม. ทั้ง 74 สถานี ราคาสูงสุดอยู่ที่ 36.384 ล้านบาท และราคาต่ำสุดอยู่ที่ 0.105 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับความครอบคลุมจำนวนประชาการในแต่ละสถานี และกำหนดให้มูลค่าดังกล่าวเป็นมูลค่าตั้งต้นการประมูลเนื่องจากมีผู้สนใจเข้าประมูลในแต่ละสถานีจำนวนน้อย

References

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2551). Spectrum Licensing for Mobile Phone Service (IMT, or 3G and Beyond). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2552a). โครงการศึกษาเพื่อกำหนดมูลค่าประเมินของคลื่นความถี่ 1900 Mhz สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคอนาคต (3G). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2552b). รายงานผลการศึกษาโครงการการศึกษาเพื่อกำหนดมูลค่าประเมินของคลื่นความถี่ 1900 MHz สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2552c). Spectrum Management Master Plan Phase 1 Report for the Office of the National Telecommunications Commission of Thailand by Inter Connect Communications. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2553). หลักการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). Comprehensive Spectrum Valuation and Wireless Performance and Demand Assessment for the Kingdom of Thailand: Towards an Optimized Spectrum Master Plan. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 Mhz. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมแห่งชาติ

Cameron, A.C. and Trivedi, P.K. (2005). Microeconomics: Methods and applications. Cambridge: Cambridge Univ. Pr.

DotEcon and Aetha. (2012). Report for Ofcom: Spectrum value of 800MHz, 1800MHz and 2.6GHz.

Gujarati, D., & Porter, D. (2009). Basic econometrics (5th ed.). New York: McGraw Hill Inc.

Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission. (2014). Licensing of Spectrum for Telecommunications Service in the Frequency Band of 1800 MHz.

Van Bruwaene, K. (2003). Estimating the value of spectrum. EBU Technical Review, April 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

อาภาพันธุ์ ก. ., มะเกลี้ยง ศ. ., & บุญมี ป. . (2022). การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน เอฟ.เอ็ม. เพื่อการประมูลในกิจการกระจายเสียงในระบบแอนะล็อก. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 195–216. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.142