การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • ทิพยรัตน์ อาสนาทิพย์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://orcid.org/0009-0006-5290-9664
  • ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://orcid.org/0000-0002-1817-6229
  • สุพจน์ ดวงเนตร คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://orcid.org/0009-0007-0920-886X

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281549

คำสำคัญ:

สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการคุณภาพ, สภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการคุณภาพ, ความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพ, การศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีเขตบริการทั้งหมด 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยางตลาด อำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอฆ้องชัย มีการจัดการเรียนการสอนปฐมวัยในทุกโรงเรียน โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดการศึกษาปฐมวัยจะเน้นการส่งเสริมพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ พัฒนาการทางด้านสังคม และพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ลักษณะการเรียนการสอนเด็กอายุ 3-6 ขวบตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) ได้เน้นให้มีการจัดประสบการณ์ที่สำคัญ คือ การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการความสนใจความแตกต่างระหว่างบุคคลและการพัฒนาเด็กควรเน้นทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ การประเมินพัฒนาการต้องเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ นอกจากนี้ควรให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กอย่างเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย 2) สภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย และ 3) ความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนระดับปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

ระเบียบวิธีการวิจัย: ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 152 คน ซึ่งถูกเลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพบว่า สภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.98 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้สถิติที่หลากหลาย เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือต่อการวิจัยในครั้งนี้

ผลการวิจัย: สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาตามความคิดเห็นครูผู้สอนระดับปฐมวัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาครูผู้สอนระดับปฐมวัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาครูผู้สอนระดับปฐมวัย จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ (1) ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ (2) ด้านคุณภาพของเด็ก และ (3) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

สรุปผล: สภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาตามความคิดเห็นครูผู้สอนระดับปฐมวัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาตามความคิดเห็นครูผู้สอนระดับปฐมวัย เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ ด้านคุณภาพของเด็ก และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กราฟฟิคจำกัด.

คําแปลง บุ่งอุทุม. (2564). รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยจังหวัดกาฬสินธุ์ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแหงชาติปการศึกษา 2564. กาฬสินธุ์: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินสินธุ์.

ณัฐรีย์ สิงห์เงา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์ (2564). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 146-154.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ และ บุษบา อรรถาวีร. (2564). การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5 ปี 2564. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 33(1), 102-117.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. (2561, 24 กันยายน 2561). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนพิเศษ 235 ง. หน้า 3-4.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2562, 30 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า5-16.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน 2560). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-190.

ศิริพร อาจปักษา. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครู สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ราชบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. (2566). ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. (2566). Retrieved on October 20, 2023. from: https://shorturl.asia/JrVz9

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการปีการศึกษา 2564. กาฬสินธุ์:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570. กรุงเทพฯ: พริกหวาน

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2555). การบริหารจัดการสถานศึกษาปฐมวัยหน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 3 rd.ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

อาสนาทิพย์ ท. ., ฤทธิลัน ศ. ., & ดวงเนตร ส. . (2025). การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 449–466. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281549

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ