ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281503คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ; , ผู้นำยุคดิจิทัล; , ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในยุคดิจิทัลที่ความเร็วของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีภาวะนำทางที่เหมาะสมเพื่อสร้างองค์กรการศึกษาที่ทันสมัยและสอดคล้องกับโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษาประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 335 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และได้โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) การบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ 3) การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน 4) การมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สรุปผล: ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษานั้นใช้ความสามารถในการเข้าใจบริบทที่เปลี่ยนแปลงนี้อย่างลึกซึ้ง และสามารถบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารสถานศึกษานำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนและโรงเรียนให้เหมาะสม
References
กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกตุชญา วงษ์เพิก. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในยุคดิจิทัลสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสาร นวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(2), 467-478.
จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จิรพล สังข์โพธิ์และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล:องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจษฎา สนสุภาพ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8, 153.
ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ฐานะ บุญรอด และวสันต์ชัย กากแก้ว. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(3), 1137-1150.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 1.
ทวีสันต์ วิชัยวงษ์และยุภาพร ยุภาศ. (2562). ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กร. วารสารวิชาการแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 16(2), 667- 680.
ธนกฤต พราหมณ์นก. (2560). การศึกษาองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 17(1), 43-53.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภูเบศ นิราศภัย และคณะ. (2563). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 9-10 กรกฎาคม 2563, 2934.
รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2566). แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน. ร้อยเอ็ด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. ร้อยเอ็ด.
สุภวัช เชาวน์เกษมใ (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภาวดี ศรีมูลผา. (2566). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 6(1), 170-189.
สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(5), 36-45.
ออระญา ปะภาวะเต. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 . Journal of Modern Learning Development. 6(4), 191-200.
เอกรัตน์ เชื้อวังคา. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th Edition, UCL Press, London.
Gardner, R.E., & Hausenblas, H.A. (2006). Exercise and diet beliefs of overweight woman participating in an exercise and diet program: An elicitation study using the theory of planed behavior. Journal of Applied Biobehavioral Research. 9(13), 188- 200.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.
Marquardt, M.J. (2000). Action learning and leadership. The Learning Organization, 7(5), 233-241.
Sheninger, E.C. (2014). Digital Leadership: changing paradigms for changing times. United State of America: Corwin.
Kaganer et al, 2013
Kaganer, E., Zamora, J., Sieber, S. (2013). 5 SKILLS EVERY LEADER NEEDS TO SUCCEED IN THE DIGITAL WORLD. ESE Business School.
Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieves October 25, 2021, Retrieved from: https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs
Zhu, P. (2016). Five Key Elements in Digital Leadership. Retrieved from http://futureofcio.blogspot.com/2015/01/five-key-elements-in-digitalleadership.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ