การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278083คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ; , บุคลากรสายงานผู้บริหาร; , องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สมรรถนะของผู้บริหารหมายถึงลักษณะพฤติกรรมเฉพาะที่จำเป็นสำหรับรัฐบาลท้องถิ่น ตำแหน่งผู้นำที่มีประสิทธิผลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบทบาทผู้บริหารในการชี้นำกลุ่มหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานส่วนตำบลตำแหน่งสายงานผู้บริหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม จำนวน 81 แห่ง จำนวน 413 คน กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ .05 โดยวิธีในการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้เท่ากับ 204 ตัวอย่าง จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างโดยเลือกวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่ายจากแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบล จนครบจำนวนตามที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย (1) ระดับสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม ได้แก่ ด้านประสบการณ์ในการครองตำแหน่งสายงานผู้บริหาร ด้านความรู้ และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี มีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 34.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายงานผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม พบว่าด้านการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ควรเรียนรู้และปรับตัวเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยปัจจุบัน สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ควรประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างคุณค่าให้น่าเชื่อถือ ด้านความสามารถในการพัฒนาคน ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการเพิ่มพูนความรู้ในงานที่ปฏิบัติและรับผิดชอบ เช่น การฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การจัดประชุมสัมมนาศึกษาดูงาน หรือการส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ ควรมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องต่าง ๆ และสามารถวิเคราะห์ภาพรวมในการปฏิบัติงาน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรได้
สรุปผล: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าบุคลากรระดับบริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนครพนมแสดงความสามารถสูง ความสามารถนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ ความรู้ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การศึกษานี้ได้แนะนำวิธีการเพิ่มขีดความสามารถ รวมถึงโอกาสในการพัฒนามนุษย์ การคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำ
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2557). คู่มือการกำหนดสมรรถนะสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
เกษรา โชติช่วง. (2554). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรส่วนการคลังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัญศรัณย์ ชุมวรฐายี (2560). การพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารและพัฒนาเมืองตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (1), 50-63.
ณัฐรัตน์ ผดุงถิ่น และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2565). ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(2), 126-142.
ณัฐศรัณย์ ชุมวรฐายี. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารและพัฒนาเมืองตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 12(1), 50-63.
ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล, ไพบูลย์ ช่างเรียน, และติน ปรัชญพฤทธิ์. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหาคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 174-189.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระอุทัย จารุธมฺโม (แก่นจำปา), สาโรช เผือกบัวขาว และพนิต ศรีประดิษฐ์. (2566). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, 11(1), 42-51.
พันธุ์พรหม รังสิธารานนท์. (2558). การพัฒนาสมรรถนะฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
รมิดา ชาธิรัตน์. (2560). สมรรถนะหลักการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์. งานวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครังที่ 3. กรุงเทพฯ : วิจิตรหัตถกร.
วีระนันท์ มนตรี, สุเมธ งามกนก และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 364-376.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. (2566). กรอบอัตรากำลังข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม ประจำปี 2566. กลุ่มงานบริหารงานบุคคล : นครพนม.
สุจินต์ สิทธิวิภัทร. (2565). ประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาในอนาคต, 1(1), 40-46.
Spencer, L.M., & Spencer, S.M. (1993). Competence at Work Models for Superior Performance. John Wiley & Sons, Inc.
Yamane, T. (1973). Statisties: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ