การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276339คำสำคัญ:
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล; , สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ โดยแยกตามระดับการศึกษา อายุ และตำแหน่งของบุคลากร และ (2) สำรวจแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานในสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 229 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรวมถึงแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 นอกจากนี้ยังใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) และการทดสอบความแตกต่างแบบคู่ โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานอยู่ในระดับมากในทุกด้าน (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการบริหารงานของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ขณะที่เมื่อจำแนกตามอายุและตำแหน่ง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการบริหารงานของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ พบว่าจำเป็นต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในสถานศึกษาได้รับการอบรมและพัฒนาความรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ E-Learning, DLIT, DLTV, Zoom, Microsoft Teams รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการจัดการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ
สรุปผล: การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตมีอัตราเร็วที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในอดีต ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดการบริหารของตนให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลนี้
References
กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เกสิณี ชิวปรีชา. (2565). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มในการบริหารสถานศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารปรัชญาปริทรรศ์. 27(1), 50 – 58.
จีระนันท์ มูลมาตร. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(2), 21-32.
ชินวัตร เจริญนิตย์. (2566). สภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(2), 98 – 113.
ณัฐวัตร ยาท้วม. (2566). แนวทางการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัยในยุคดิจิทัลสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(8), 435 – 447.
ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(2), 37-45.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภัทรา วยาจุต. (2566). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 1672 – 1690.
มณีนุช ภูยังดี. (2564). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(40), 249 – 263.
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ. (2566). สารสนเทศเพื่อการศึกษา. ชัยภูมิ : สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ.
สุนันทิณี ชวฤทธิ์เดชา. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการบริหารงานของภาคีเครือข่ายศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(3), 27 – 34.
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2566). การบริหารงานศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเรียนรู้.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ