การศึกษาการบริหารโครงการของผู้บริหารอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276198คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา;, การบริหารโครงการ; , นราธิวาสบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และ 2) เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งหมด 6 วิทยาลัย โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 27 คน และครูและบุคลากรจำนวน 548 คน รวมเป็นทั้งหมด 575 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.55 – 0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ระดับการบริหารโครงการ ผู้บริหารอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์มีระดับการบริหารโครงการอยู่ในระดับมาก (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการ: การพัฒนาการบริหารโครงการของผู้บริหารอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พบว่า มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 2.1 ด้านการพัฒนาการบริหารโครงการของผู้บริหารวิทยาลัย: ควรมีกระบวนการพัฒนาที่หลากหลาย โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในภาพรวม วิเคราะห์นโยบาย แผนงาน และโครงการขององค์กรต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และจุดที่ควรพัฒนา เพื่อการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ 2.2 ด้านการริเริ่มโครงการ: ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ โดยใช้แนวคิดเชิงระบบเป็นกระบวนการระดมสมอง ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูผู้สอน และการจัดการประชุมกลุ่มย่อย 2.3 ด้านการนำโครงการไปปฏิบัติ: ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาทในการใช้ศิลปะในการจูงใจบุคลากรแต่ละคน โดยยึดหลักการ 5 ประการในการนำโครงการไปปฏิบัติ คือ การทำงานด้วยความรู้สึกเต็มใจ เต็มเวลา เต็มคน และเต็มพลัง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามกรอบที่กำหนดในแผนการดำเนินงาน 2.4 ด้านการปิดโครงการ: ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งรวบรวมและสรุปโครงการ/กิจกรรม พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
สรุปผล: การพัฒนาการบริหารโครงการของผู้บริหารวิทยาลัย ควรมีกระบวนการต่าง ๆ ในการพัฒนาทักษะ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในภาพรวม วิเคราะห์นโยบายแผนงานและโครงการขององค์กรต่าง ๆ วิเคราะห์จุดอ่อน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา เพื่อการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ
References
ประเวศ วะสี. (2545). การสร้างธรรมาภิบาลในขบวนการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างและพัฒนาครู เพื่อรองรับกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาปัญญาบนพื้นฐานแนวคิดไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:กรุงเทพฯ.
ศศิวิมล อินต๊ะเนตร และคณะ. (2561). การจัดทำคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 2750-2766.
สมคิด พรมจุ้ย. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์.
สักดิ์สิวรรณ ทรงสิริวรกุล และ ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2561). การบริหารโครงการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการบริหารการศึกษา, 10(2), 919-933.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
อภิชาติ สุปิน. (2554). การบริหารโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์แขนงวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เอกชัย ปริญโญกุล. (2556). "ประสิทธิผลการบริหารโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก."รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
Kerr, J.F. (1989). Changing the Curriculum. London: University of London Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ