การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275367

คำสำคัญ:

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, กลวิธี SQP2RS, วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดนในสังคมปัจจุบัน ล้วนต้องมีความสามารถในการรับข้อมูลผ่านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อพิจารณาคะแนน O-NET วิชาภาษาไทย พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาผลการใช้
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังฟ่อน
(สิทธิราษฎร์บำรุง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS และ
2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง
เชิงเนื้อหา (IOC) มากกว่า 0.5 จำนวน 29 ข้อ ค่าความยาก เท่ากับ 0.33-0.78 อำนาจจำแนก เท่ากับ 0.30-0.75 และความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent sample t-test)

ผลการวิจัย: 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) กระตุ้นให้นึกคิด 2) สำรวจ 3) ตอบสนอง และ 4) สรุปและประเมินผล โดยแผนการจัด
การเรียนรู้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (M=4.36, SD=0.84) และ 2) ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS () เท่ากับ 83.28/80.29
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และ 2) นักเรียนมีความสามารถในอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล: แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น

References

กัญญาณัฐ มีคง. (2563). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพวงพยอมจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

งานวัดผลและประเมินผลการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565 สพป.แพร่ เขต 1. งานวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนัญพร ณรงค์ทิพย์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยโดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการตอบสนองต่อวรรณกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). รายงานการวิจัย การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวิน พงษ์ผจญ. (2562). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน: แนวคิดแนวทางปฏิบัติและประเด็นที่ควรพิจารณา. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 26(2), 95-125.

ณิชาพัฒณ์ ไชยเสนบดินทร์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 91-105.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตนาภรณ์ จำรัสภูมิ. (2563). การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรูแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลมูล จันทร์หอม. (2533). วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

วนิดา พรมเขต. (2559). การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ศรัณย์ ขนอม และเด่นดาว ชลวิทย์. (2566). การเปรียบเทียบความสามาถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วงจรวรรณกรรมและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(2), 647-658.

สง่า วงค์ไชย, ชุติมา ขุนแสง และคําขวัญ ชูเอียด. (2560). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นในการสอนวิชาภาษาไทยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิชาเอกภาษาไทย. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติทางจิตวิทยา “ชีวิตดีเปลี่ยนได้ด้วยศาสตร์แห่งใจ”, 6-7 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรมบางกอก ชฎากรุงเทพมหานคร.

สิริพงษ์ กาละพงษ์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการสอนอ่านแบบ SQP2RS เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริพร รัตนมุง. (2559). การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Echevarria, J. Vogt, M., & Short, D.J. (2010). Making content comprehensible for secondary English learners: The SIOP Model. Boston: Allyn and Bacon.

Goodman, K.S. (1986). What’s whole in the whole language? Portsmouth, NH: Heinemann.

Patty, J., & Ambon, F. U. (2021). The Influence of using SQPR2RS (Survey, Question, Predict, Read, Respond, Summarize) Strategy to Improve Students’ Reading Comprehension. Journal Tahuri, 18(1), 55-65. DOI: https://doi.org/10.30598/tahurivol18issue1page55-65

Sandra, A. (2019). IMPROVING STUDENTS’ READING COMPREHENSION BY USING SURVEY, QUESTION, PREDICT, READ, RESPOND, AND SUMMARIZE (SQP2RS) TECHNIQUE AT SMP NEGERI 7 GUNUNG TALANG. ELP (Journal of English Language Pedagogy), 4(2), 45-53. https://doi.org/10.36665/elp.v4i2.197.

Vogt, M., & Echevarría, J. (2008). 99 Ideas and activities for teaching English learners with the SIOP Model. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-07

How to Cite

แก้วดวงใจ น., & ศิริลักษณ์ ว. (2024). การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 911–928. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275367