แนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ในยุคดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.272421คำสำคัญ:
การบริหารจัดการความร่วมมือ; , การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู; , มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาปัญหาแนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ในยุคดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือเพื่อนำเสนอแนวทาง การบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ในยุคดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในยุคดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1). การศึกษาปัญหาโดยแบบสอบถามทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างจำนวน 269 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2).หาแนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา โดยวิธีการสนทนาแบบกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 3).ประเมินแนวทางทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยแบบสอบถามประเมินแนวทาง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: (1) ปัญหาการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในยุคดิจิทัลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าระดับปัญหาการบริหารจัดการความร่วมมือมากที่สุดคือ ด้านงานบริหารวิชาการภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่ต่ำที่สุด ด้านงานบริหารงานบุคคลภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) แนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ในยุคดิจิทัล (2.1) ด้านงานบริหารวิชาการ มีการวางแผน ปรับปรุง ตรวจสอบ ประเมิน ในการจัดการเรียนการสอน เน้นการใช้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลเข้ามาใช้ (2.2) ด้านงานบริหารงบประมาณ มีการวางแผน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกำกับ และติดตามการดำเนินงานตามแผนงานของฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (2.3) ด้านงานบริหารงานทั่วไป วางแผน พิจารณาแต่งบุคคลให้เหมาะสม กำหนดหน้าที่ ตรวจสอบ และการติดตามประเมินผล จนการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (2.4) ด้านงานบริหารงานบุคคล ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยงร่วมมือกันใช้ระบบฐานข้อมูลในการจัดหาปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานของนักศึกษา ปรับปรุงแผนงานให้ตรงกับงบประมาณ ตรวจสอบ และกำกับติดตาม การดำเนินงานของนักศึกษา (3) ผลการประเมินแนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในยุคดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความถูกต้องสูงสุด ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์
สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัญหาการบริหารจัดการความร่วมมือในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษาในยุคดิจิทัลมีระดับปานกลางโดยรวม และแนวทางการบริหารจัดการแนะนำการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลและการวางแผนที่มีประสิทธิภาพผลการประเมินแสดงให้เห็นว่าแนวทางการบริหารจัดการนี้มีความเหมาะสมและประโยชน์สูงที่สุด โดยมีคุณสมบัติความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2562. Retrieved on 12 January 2020, from: https://moe360.blog/2021/06/30/education-management-policy
จิรวัฒน์ วีรังกร. (2552). สังเคราะห์สาระความรู้การบูรณาการระหว่างศาสตร์เพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติสู่การตกผลึกทางปัญญา. สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง พัฒนาศาสตร์แห่งบูรณาการผ่านเครือข่ายบัณฑิตอุดมศึกษาไทย: สู่การตกผลึกทางปัญญา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์
ฉัตรชัย ตันตรานนท์. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนางานบริหารทั่วไปโรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่ อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชนะ ทองเหลือง, วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม และ ศิริกาญจน์ไกรบำรุง. (2560). การบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 3 (2), 192-203.
ซูบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ดรุณนภา นาชัยฤทธ์. (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครู. รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บริมาส กัลยา. (2556). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).พะเยา:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา
บุรินทร์ สหะวิริยะ. (2558). แนวทางการจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปทุมพร กาญจนอัตถ์. (2561). แนวทางการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปาริชาติ สติภา. (2558). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2563). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬา ขอนแก่น. (7)2, 314-315.
พัฒน์นรี อัฐวงศ์. (2561). การศึกษาตัวแปรด้านการวางแผนงบประมาณที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล. 5 (1), 36-47.
เพ็ญพรรณ บางอร. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2561). คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2561. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง (2563) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 ของสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 99 – 113.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ปริญญาศึกษามหาบัณทิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ศิรินภาวรรณ ทุมคำ. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สโรชา คล้ายพันธ์. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 8 (1), 63-76.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยการศึกษา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยสมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครู ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สิริรัตน์ หอมชื่นชม. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สภาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุรพล พุฒคํา. (2544). การศึกษารูปแบบการบริหารโปรแกรมวิชาในสถาบันราชภัฎ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Thinnakorn Cha-umpong, Praponson Potipituk , Saythit Yafu

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ