การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของบัณฑิตใหม่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • สิริมงคล สุวรรณผา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0007-1877-7925

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.295

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัด; , คุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพ; , บัณฑิตใหม่

บทคัดย่อ

ครูเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาด้านการศึกษา ครูจึงเป็นผู้ให้ให้ทั้งความรู้ เป็นผู้ที่อบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์เป็นบุคคลที่มีความสามารถด้านความรู้ควบคู่กับมีคุณธรรม ดังนั้นคุณลักษณะครูที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้น มีความรอบรู้อย่างมืออาชีพ มีนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ เข้าใจถึงทิศทางการพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูของบัณฑิตใหม่ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของบัณทิตใหม่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของบัณทิตใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี(Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็นตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบ สัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือคือ แบบประเมินองค์ประกอบของตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 1 ฉบับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ แจกแจงความถี่คำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้การวิเคราะห์เชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis-EFA) ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของบัณฑิตใหม่ และสามารถสังเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ได้ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 60 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาความสอดคล้องได้สร้างตัวชี้วัด จำนวน 48 ตัวชี้วัดซึ่งมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 จิตวิญญาณความเป็นครู ประกอบด้วย 18 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย 19 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ประกอบด้วย 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ชุมชนสัมพันธ์ ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด เมื่อวิเคราะห์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทุกองค์ประกอบเป็นไปตาม แนวคิดทางทฤษฎี

References

เดชา การรัมย์. (2551). การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ. วารสาร สควค, 2(7), 11-12.

ณัฐพงศ์ จันทนะศิริ กังสดาล ธนธรรม และสุทธิศรี สมิตเวช. (2566). GURU ครูมืออาชีพ (Professional Teacher). Retrieved from: http://static.trueplookpanya.com/hash_cmsblog/201610/50207/1475564122/FILE_1475564122.pdf

บงกช ทองเอี่ยม. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยแบบไม่จำกัดรับ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณ-ภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 291-303.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, 116(74ก), 1-23.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561.กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bedley, G. (2016). What is a Professional Educator? Retrieved from: https://www.astrpro.org/index.php/about-us/the-professional-educator

Hair, J.F., Jr., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 7th edition. Pearson Prentice Hall.

Meesuk, P. (2019. May-September). Vocational Teacher Desired Characteristics. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 15(2), 76–82. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/268365

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

How to Cite

สุวรรณผา ส. . (2023). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของบัณฑิตใหม่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 1033–1054. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.295