การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ กำแหล่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-3903-5215
  • เนตรชนก จันทร์สว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0003-0674-692X

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.267

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน; , ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์; , เจตคติต่อวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการคิดที่จะต้องอาศัยกระบวนการทางสมองของบุคคล รวมทั้งพฤติกรรมที่ซับซ้อนต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการทางสติปัญญา มาใช้ระบุและปฏิบัติอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่พบ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม รวม 38 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Cluster Random Sampling) มีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับจำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แบบวัดวามสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบสถานการณ์ แบบปรนัย 4 ตัวลือก จำนวน 3 สถานการณ์ ทั้งหมด 12 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23-0.69 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20-0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.89 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24-0.55 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Sample และ t-test for One Sample ผลวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมี 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563. Retrieved on April 28, 2022 from: https://www.bkkedu.in.th/wpcontent/uploads/2020/04-2563.pdf

จินตนา แก้วอาสา. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2552). การคิด การคิดแก้ปัญหา และการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ชบาพร พิมวัน. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของสารพันธุกรรมและมิวเทชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พรรณวิไล ชมชิด. (2557). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

เพ็ชรรัตน์ เวฬุคามกุล และวราวุฒิ พุทธให้. (2555). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาหลักชีววิทยา เรื่องการแบ่งเซลล์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วันเฉลิม อุดมทวี. (2557). การพัฒนาความสามารถการคิดเชิงบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 125-132.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. Retrieved on 28 April 2022 from: https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ 3-คิวมีเดียจำกัด.

สิริยากร ชาวนาฮี และกัญญารัตน์ โคจร. (2564). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Rajabhat MahaSarakham University Journal, 15(2), 210-218.

สิริราช ถูกดี และพรรณวิไล ดอกไม้ (2565). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกายเราสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 16(3), 270-280.

อุไรวรรณ มากพู; (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 6(2), 58-71.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day (pp. 120-190). Washington DC: International Society for Technology in Education.

Berrett, D. (2012). How 'Flipping' the Classroom Can Improve the Traditional Lecture. Chronicle of Higher Education.

Drysdale, J.S., Graham, C.R., Spring, K.J., & Halverson, L.R. (2013). An Analysis of Research Trends in Dissertations and Theses Studying Blended Learning. The Internet and Higher Education, 17, 90-100. http://dx.doi.org/10.1016/j.iheduc.2012.11.003

Klopfer, L.E. (1971). Individualized Science: Relevance for the 1970's. Science Education, 55(4), 441-448.

Weir, J.J. (1974). Problem-Solving Is Everybody’s Problem. Science Teacher. 41(4), 16-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

กำแหล่ ก., & จันทร์สว่าง เ. . (2023). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 531–548. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.267