การจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลรัตนากาฬสินธุ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.20คำสำคัญ:
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน; , การเรียนรู้แบบผสมผสาน; , ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังขาดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลรัตนากาฬสินธุ์ (2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลรัตนากาฬสินธุ์ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลรัตนากาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน และ แบบสัมภาษณ์นักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุป รายงานผลในลักษณะการบรรยาย (2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การปฏิบัติการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐานซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นสังเคราะห์ความรู้ ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเรียนทั้งในห้องเรียนปกและเรียนแบบออนไลน์ (2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (3) การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรรยา อาจหาญ. (2549). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ประถมศึกษา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
ทัศนีย์ ธราพร, อารัมภ์ เอี่ยมลออ, เบญจวรรณ รุ่งเรืองศุภรัตน์ (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) กับอนาคต การจัดการศึกษาสำหรับสังคมในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่. Journal of Liberal Arts, RMUTT. 1 (2), 13-20.
ปณิตา วรรณพิรุณ.(2553). สื่อการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ. ภาควิชา ครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ นครเหนือ
ยรรยง สินธุ์งาม. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL). Retrieved on November 11, 2011, from http://www.vcharkarn.com
วราลี สิริปิยธรรม. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศษสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุธน วงค์แดง. (2565). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในห้องเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : โอกาสและความท้าทายของผู้สอนและผู้เรียน ในยุคของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning). สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 28 (2), 1-15.
อรพิน จิรวัฒนศิริ. (2541). การใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตของนักศึกษาปริญญาโท ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Driscoll, M. (2002). Blended Learning: Let's Get beyond the Hype. IBM Global Services.
Scott, A.H. (1970). Milk production. London: lliffed.
Woods, P. (1985). Ethnography and theory construction in educational research, in R.G. Burgess (ed.), Field Methods in the Study of Education, Falmer Press, Lewes, 51–78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ธนพล จตุพร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ