การพัฒนาระบบบริหารจัดการคำร้องออนไลน์ (e-Form) ระดับบัณฑิตศึกษา ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, ระบบบริหารจัดการ, คำร้องออนไลน์ (e-Form), ระดับบัณฑิตศึกษา, กลยุทธ์บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการคำร้องออนไลน์ (e-Form) 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีสถานภาพต่างกัน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ และผู้บริหาร จำนวน 492 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ระบบ e-Form 2) แบบประเมินประสิทธิภาพ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบเปรียบเทียบด้วยค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบมีการทำงานรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน กรอบทำงานมี 6 โมดูล คือ เว็บมาสเตอร์ นิสิต อาจารย์ เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ทะเบียน ประสิทธิภาพของระบบโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (=4.28) 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้ระบบที่มีเพศ กลุ่มประเภท ช่วงอายุ และสังกัดกลุ่มคณะที่เกี่ยวข้องตามสาขาวิชา มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบทุกกลุ่ม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.33) โดยสรุปผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการคำร้องออนไลน์ (e-Form) สามารถนำผลการวิจัยประกอบการวางแผน/กลยุทธ์ การปรับปรุงพัฒนาระบบสารสนเทศต่อการให้บริการออนไลน์ที่คล่องตัวทุกกลุ่มผู้ใช้งาน มีความเหมาะสมรองรับต่อยุคปัจจุบัน ตามนโยบายการบริหารจัดการด้านการบริการรูปแบบออนไลน์
References
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6 : ประสานการพิมพ์.
บัณฑิตวิทยาลัย. (2564) คู่มือหลักสูตรระดับัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประพาพร มั่นคง. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามวิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มานิตย์ อาษานอก. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศ งานวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554) การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีราภรณ์ เชยรัมย์. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
He, Jun, Ph.D. (2007). “Rethinking User Participation in Information Systems Development
: A Knowledge Perspective,” Dissertation Abstracts International. 67(09), IV.
Hilton , Brian N. (2004). “The Impact of Open Source Software and Web Services on
Information System Development : An Investigation of Proximate Commuting,” Dissertation Abstracts International, 65.(03), unpaged.
Nayden Nenkov, T. T., & Petrova, M. (2017). “Software System for Document Management
at the Faculty to University,” International Multidisciplinary Scientific Conference
on Social Sciences & Arts SGEM,
Wu, M.-C. (2004). “Continuous Evaluation of Information System Development : A
Reference Model,” Dissertation Abstracts International, 64.(7), 2569–A.
Wison, Keathen Al. (1996). “Use of Computer-Based Management Information System
(MIS) in Public Organization : The Case of the City of Richmond,” Dissertation Abstracts International, 56(10), 4049 – A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 13-05-2024 (4)
- 13-05-2024 (3)
- 13-05-2024 (2)
- 11-03-2024 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร