การพัฒนาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา โดยใช้กิจกรรมกลุ่มวาดภาพจิตรกรรมไทยฝาผนัง

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา หนูใหม่ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ณัฎฐกาญจน์ อนันทราวัน สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จุลดิษฐ อุปฮาต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ภัทรพงษ์ ไชยเชษฐ์ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ไกรฤกษ์ แสวงผล สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

จิตสาธารณะ, กิจกรรมกลุ่ม, จิตรกรรมฝาผนัง, นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มวาดภาพจิตรกรรมไทยฝาผนัง
เพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา 2) ศึกษาผลการพัฒนาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษากลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 – 4 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) รูปแบบกิจกรรมกลุ่มวาดภาพจิตรกรรมไทยฝาผนัง 2) แบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะ 4 ด้าน คือ (1) ด้านการช่วยเหลือส่วนรวม (2) ด้านการมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม (3) ด้านการเคารพสิทธิของส่วนรวม (4) ด้านการดูแลรักษาสิ่งของส่วนรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมกลุ่มวาดภาพจิตรกรรมไทยฝาผนังประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรม 3 ระยะคือ ระยะต้นน้ำ (เตรียมความพร้อม) ระยะกลางน้ำ (การดำเนินงาน) และระยะปลายน้ำ(สรุปและถอดบทเรียน) ตามกระบวนการ PDCAมีองค์ประกอบในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ (1) การจัดสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไข (2) การวางแผนดำเนินงานที่ยืดหยุ่น และ (3) การเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ 2) คุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มวาดภาพจิตรกรรมไทยฝาผนังอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.29, S = 0.67) โดยมีคะแนนคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ
หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565, 31 มีนาคม). มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565.

https://www.mhesi.go.th/index.php/en/all-legal/76-ministerial- regulation/7213-2565-5.html

ชาย โพธิสิตา. (2540). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณะสมบัติ: ศึกษากรณี

กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ.(2561). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี

(พ.ศ.2560 – 2579). https://lru.ac.th/th/wp-content/uploads/2019/10/strategic20year.pdf

บุญทัน ภูบาล. (2549). การใช้วีดิทัศน์ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูลปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์และขนบพร แสงวณิช. (2560). ศิลปศึกษากับการใช้สถานที่

เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาตร์สังคมศาสตร์และ

ศิลปะ,10(3), 2732- 2745.

วรรษา เฉลิมชัย, อุมาภรณ์ สุขารมย์, ภูริเดช พาหุยุทธ์ และศรีสมร สุริยศศิน. (2563). ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของคณะกรรมการสภานักเรียน. วารสารรัชต์ภาคย์,14(37), 188 – 203

วิทยพัฒนท สีหา. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.[วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิภาวดี เกียรติอัชฌาสัย. (2542). เปรียบเทียบผลการปรึกษาเชิงจิตวิทายาแบบกลุม ตามแนวทฤษฎีของ

โรเจอรและกิจกรรมกลุมที่มีตออัตมโนทัศน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร

มหาวิทยาลัยเชียงใหม. [วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

วีนัส ภักดิ์นรา. (2564). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(1), 8 - 19

สุนีย์ นิ่มกลาง และประยุทธ ไทยธานี. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนที่มีต่อ จิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารราชพฤกษ์, 20(2),179-191.

ยุทธนา วรุณปิติ.(2542).สำนึกพลเมือง : ความเรียงว่าด้วยประชาชนบนเส้นทางประชาคม.กรุงเทพฯ: มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาคม.

อภิชาติ พลประเสริฐ. (2559). ศิลปะเพื่อชุมชม Art For Community. วารสารครุศาสตร์,44(4),404-416.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-10-2023