ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่

ผู้แต่ง

  • ก้องเกียรติ เชยชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • สุนันทา สุพรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • สมพงค์ แก้วเวหา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • บรรจบ รัตนามาศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการเรียน, นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
การเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ ประชากรที่ใช้
ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จำนวน 675 คน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 333 คน โดยทำการสุ่มแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-5 ชั้นปีละ 3 คน จำนวน 15 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ประกอบด้วย ด้านความรู้ 17 ข้อ ด้านทัศนคติ 17 ข้อ
ด้านพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา 19 ข้อ และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ATLAS.ti จากการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ แยกเป็นรายด้านดังนี้ (1) ด้านความรู้ คือ ได้รับความรู้ตามความต้องการ ระดับมากที่สุด (2) ด้านทัศนคติ นักศึกษารู้สึกภูมิใจที่ได้เรียนสาขาพลศึกษา ระดับมาก (3) ด้านพฤติกรรมการเรียน นักศึกษา
มีการทำการบ้านและรายงานด้วยตัวเอง ระดับมาก 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ และอายุที่ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.

กาญจนา เงารังสี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 13-18.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีประภา ชัยสินธพ. (2556). สภาพจิตใจของวัยผู้ใหญ่. https://www.rama.mahidol.

ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06272014-1009

สามารถ มังสัง. (2559). (2559, 12 กันยายน) การศึกษาของชาติ : ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ.

https://mgronline.com/daily/detail/9590000091649

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. สามลดา.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2558). (2558, 10 มิถุนายน). การจัดการเรียนการสอนเพื่อความแตกต่าง. http://sudaponpang.blogspot.com/2015/06/blog-post_66.html

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-10-2023

How to Cite

เชยชม ก. ., สุพรรณ ส., แก้วเวหา ส. ., & รัตนามาศ บ. . (2023). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(2), 27–36. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/273802