การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง การย้อมสีผ้าไหมแพรวาบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุทธิกานต์ พิสิษฐ์พงศา นักศึกษาระดับการศึกษาปริญญาตรี สังกัดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปารณีย์ พฤกษาชาติ อาจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สุชาวดี สมสำราญ อาจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน, การย้อมสีผ้าไหมแพรวา, ชุมชนตำบลโพน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำย้อมสีผ้าไหม  แพรวาบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมุ่งเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน 2) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวแทนปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหม แพรวาบ้านโพน จำนวน 2 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์
เชิงลึก 2) แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหลักการทางวิทยาศาสตร์การย้อมสีเส้นไหมจากธรรมชาติ และวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการย้อมสีผ้าไหมแพรวาบ้านโพน โดยมุ่งเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่าการศึกษาการย้อมสีผ้าไหมแพรวา คือ กระบวนการย้อมสีจากธรรมชาติ การให้สีของพืชที่แตกต่างกันเกิดจากคอนเดนส์แทนนินที่เป็นกลุ่มที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ที่จะพบมากในพืชใบเลี้ยงคู่ เชื่อมโยงกับหลักการวิทยาศาสตร์ในเรื่อง สารช่วยให้ติดสีธรรมชาติ การให้สีของพืช คุณสมบัติของมอร์แดน 2) ผลการสร้างและประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลรวมค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านมีค่าเท่ากับ 0.84 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 ขึ้นไป  แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง การย้อมสีผ้าไหมแพรวาบ้านโพน มีคุณภาพสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้

References

จักรพงษ์ บุญตันจีน. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถการทำกิจกรรมเด่นในชุมนุม นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(1). 252-267.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, จันทร์จิรา ไพบูลย์นำทรัพย์, รุ่งไพลิน ฤทธิ์พนา และชิสาพัชร์ ชูทอง. (2562). การออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(3), 397-414.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล, กนกพร พันวิไลย, ชุติมา เอกภาพไพบูลย์ และนงเยาว์ เรือนบุตร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2): 117-134.

นิตยา วรรณกิตร์. (2557). ภูมิปัญญา“ผ้าไหมแพรวาผู้ไทบ้านโพน”: พลวัตและการปรับตัว. วารสารไทยศึกษา, 10(2): 63-86.

ประเวศ วะสี. (2533). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในงานมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้านไทย. วันที่ 30 พฤษภาคม 2533 (31-34) กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์. (2557). การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้ามัดย้อมด้วยการย้อมจากสีธรรมชาติ. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, 9(1): 81-89.

รัตนะ อุทัยผล. (2523). หัตถกรรมประจำถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วิชา ทรวงแสวง. (2543). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเรียนการสอนในสถาบันราชภัฏ. วารสารราชภัฏกรุงเก่า, 6(12): 117-121

วีระพงษ์ แสงชูโต. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: โชตนาพริ้นท์.

ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย.

ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย. (2563). แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://db.sac.or.th/museum/

อุทัย ดุลยเกษม. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน: กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของ ชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-06-2023