ภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า, ผู้บริหารสถานศึกษา, วุฒิการศึกษา, ประสบการณ์การทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.993 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิรัตญา พรหมสมปาน. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (2020-2037). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จีราวัฒน์ สว่างกลับ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนเครือข่ายที่ 20 สำนักงานเขตดอนเมือง สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จุฑาธิปต์ ทัพไทย. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลสามเสน
(สลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) เขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนาภรณ์ นีลพันธนันท์ (2562). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฎีองค์กร และพฤติกรรม : หลักการ ทฤษฎีการวิจัย และการปฏิบัติทาง
การศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และสุุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุษบง ธัยมาตร. (2560). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2): 353-365.
ภคินี ศรีสุไชย. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วินา สุทธิโพธิ์. (2561). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย และดวงเนตร ธรรมกุล. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจภาวะผู้นําเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4): 465-487.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2564) รายงานผลการสังเคราะห์ผลการ ประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2564. สืบค้น 9 มกราคม2566, จาก https://online.pubhtml5.com/uygu/mmlj/#p=1
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุกัญญา สายลอด, สุวรรณา โชติสุกานต์ และอรสา จรูญธรรม. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(2): 163-176.
เสาวนีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อมรรัตน์ งามบ้านผือ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขต
อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern
Learning Development, 5(6): 364-373.
อัมพวัน คงสุข. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Ash, R. C., & Persall, J. M. (2000). The Principal as Chief Learning Officer: Developing Teacher Leaders. NASSP Bulletin, 84(616), 15-22. doi:10.1177/019263650008461604
Dubrin, A.J. (2005). Fundamentals of Organizational Behavior. (3rd ed). Canada: Thomson South-Western.
Sternberg, R. J. (2005). Intelligence, Competence, and Expertise. In A. J. Elliot & C. S. Dweck (Eds.), Handbook of competence and motivation (pp. 15–30). Guilford Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร