บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามทรรศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี บังสี นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชนมณี ศิลานุกิจ รองศาสตราจารย์ ดร., คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, การจัดการเรียนรู้ตามทรรศนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามทรรศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู
ในสถานศึกษา จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80–1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามทรรศนะของข้าราชการครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกันมีทรรศนะต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้าราชการครูที่มีขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีทรรศนะต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกวรรณ ปาลคะเชนทร์. (2561). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

จันทิรา ปัจจัยโคถา (2557). การศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ในอำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ชลนที พั้วสี และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(2): 56-64. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/249840/172336

พุทธิพงษ์ ทองเขียว. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รุ่งนภา ไชยะ. (2560). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสารตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วัชราภรณ์ คงเกิด. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วัฒนชัย บุญสนอง. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศศิกาญจน์ แปงงามนวกุล. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 . กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023