การพัฒนาการคิดเชิงออกแบบและเจตคติต่อการทำงานเป็นทีม โดยใช้ยุทธวิธีสอนแบบโครงงานของนักเรียนอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปิยะบุตร ถิ่นถา ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ยุทธวิธีสอนแบบโครงงาน, การคิดเชิงออกแบบ, เจตคติต่อการทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการคิดเชิงออกแบบ 2) ศึกษาพัฒนาการการคิด เชิงออกแบบ และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมโดยใช้ยุทธวิธีสอนแบบโครงงานของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1/5 วิชาเอกนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 29 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบวัดการคิดเชิงออกแบบและแบบวัดเจตคติต่อการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีการคิดเชิงออกแบบอยู่ในระดับดี (M = 3.46, S = 0.63) 2) การคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมีพัฒนาการที่สูงขึ้น โดยการวัดครั้งที่ 1 อยู่ในระดับดี (M = 3.17, S = 0.75)     การวัดครั้งที่ 2 อยู่ในระดับดี (M = 3.48, S = 0.64) และการวัดครั้งที่ 3 อยู่ในระดับดีมาก (M = 3.70, S = 0.46) และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก (M = 3.93, S = 0.81)

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช และเกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2565). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุภา กิจเจริญปัญญา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทำนายแลกเปลี่ยนความคิดสังเกตอธิบาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2560). เอกสารคำสอน รายวิชาการบริหารสำหรับครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จุฑามาส ศรีจำนงค์ และโศจิวัจน์ เสริฐศรี. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์จังหวัดเลยและจังหวัดขอนแก่น ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวคิดการพัฒนาครูด้วยวิธีเสริมพลัง. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ชนัญชิดา จันทร์ผึ้งสุข. (2563). รูปแบบการออกแบบย้อนกลับด้วยนิเวศการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงออกแบบและนวัตกรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. เอ็มดี ออล กราฟิก.

ธงชัย สมบูรณ์. (2565). แก่นความเป็นครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปวริศร ภูมิสูง. (2564). การพัฒนาการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสตีมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรภัทร จตุพร. (2563). เครื่องมือการคิดออกแบบเพื่อส่งเสริมครูนักคิดออกแบบ: การวิจัยการคิดออกแบบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัทธนันท์ บุตรฉุย. (2559). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ออนไลน์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์อนาคตเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาการจัดการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิพัฒน์พงศ์ จิตต์เทพ, มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์, เพ็ญพนอ พ่วงแพ และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2564). การพัฒนาความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมในสาระภูมิศาสตร์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 78.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). การคิดเชิงออกแบบ: ครูนวัตกรวิถีใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 191-197.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัด การเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 9-12.

วิภาดา พินลา และวิภาพรรณ พินลา. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกในวิชาสังคมศึกษา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2562). หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาศิลปกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2564). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Al-Balushi, S. M. & Al-Aamri, S. S. (2014). The effect of environmental science projects on students’ environmental knowledge and science attitudes, International Research in Geographical and Environmental Education. International Research in Geographical and Environmental Education, 23(3), 213-227.

Ananda, L.R., Rahmawati, Y.& Khairi, F. (2023). Critical thinking skills of Chemistry students by integrating design thinking with STEAM-PjBL.Journal of Technology and Science Education. 13(1), 357.

Foster, M. K. (2019). Design Thinking: A Creative Approach to Problem Solving. Management Teaching Review. 6(2), 123.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023

How to Cite

ถิ่นถา ป. (2023). การพัฒนาการคิดเชิงออกแบบและเจตคติต่อการทำงานเป็นทีม โดยใช้ยุทธวิธีสอนแบบโครงงานของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(2), 62–72. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/269922