การพัฒนามัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องวรรณยุกต์ อักษร 3 หมู่ และการผันวรรณยุกต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนไทยของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • สุภาวรรณ ฤๅกำลัง
  • แดง สุธรรม
  • ทิพวรรณ แก้วสอนดี

คำสำคัญ:

มัลติมีเดีย, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, วรรณยุกต์, อักษร 3 หมู่, การผันวรรณยุกต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องวรรณยุกต์อักษร 3 หมู่และการผันวรรณยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาประสิทธิผลของการใช้มัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องวรรณยุกต์อักษร 3 หมู่และการผันวรรณยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคำเตย จำนวน 23 คน โดยการสุมแบบกลุม (Cluster Random Sampling) ใช้หองเรียนเป็นหน่วยการสุม เครื่องมือที่ใช้ มัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องวรรณยุกต์อักษร 3 หมู่และการผันวรรณยุกต์ แบบฝึกทักษะ เรื่องวรรณยุกต์อักษร 3 หมู่และการผันวรรณยุกต์ แบบทดสอบเรื่องวรรณยุกต์อักษร 3 หมู่และการผันวรรณยุกต์ ค่าคุณภาพของเครื่องมือค่าความยากง่ายเฉลี่ยเท่ากับ 0.45 ค่าอำนาจจำแนกได้เฉลี่ยเท่ากับ 0.48 รวมทั้งหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85  สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติทดสอบ t- test independent sample

              ผลการวิจัย พบว่า 1) มัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องวรรณยุกต์ อักษร 3 หมู่ และการผันวรรณยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.42/82.47 2) ประสิทธิผลของการใช้มัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องวรรณยุกต์อักษร 3 หมู่และการผันวรรณยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2545). การเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

โกเมน ดกโบราณ (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กรกต ธัชศฤงคารสกุล (25654). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (ปริญญามหาบัณฑิต) นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2550). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.

ทิพภาภรณ์ ทนงค์. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องการเย็บตะเข็บผ้าพื้นฐานวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธัญเทพ เย็นรมภ์. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคำศัพท์ภาษาอังกฤษในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้เทคนิคคำสำคัญ. (ปริญญามหาบัณฑิต) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจของอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดลำปาง. วารสารเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(4), 70-89.

วิมลรัตน สุนทรโรจน. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ช้างทอง.

วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สิทธิพร พรอุดมทรัพทย์. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบมีส่วนร่วมเรื่องการจัดการป่าต้นน้ำ

เสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด่านนาขามบน

ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และเขียน. นนทบุรี: ซี.ซี. นอลลิดจ์ลิงคส์.

สุวิทย์ มูลคํา. (2545). 19 วิธีจัดการเรียน : เพื่อพัฒนาความรูและทักษะ. กรุงเทพฯ: หางหุนส่วนจำกัดภาพพิมพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-03-2022