สมรรถนะความรู้ในเนื้อหาตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่

ผู้แต่ง

  • ยานี จรคงสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • กู้เกียรติ บุญมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • ธรณัส ปัญญาไข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • สุธน เพร็ชนิล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • สุนันทา สุพรรณ

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ความรู้ในเนื้อหา, มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ในเนื้อหา ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินสมรรถนะความรู้ในเนื้อหาตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู มีลักษณะการตอบเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะความรู้ในเนื้อหาตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จำแนกสมรรถนะออกเป็น 3 ด้านได้แก่ ความรอบรู้ในศาสตร์ความเป็นครู ความรอบรู้ผู้เรียน และความรอบรู้บริบท โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ มีสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายสมรรถนะอยู่ในระดับดีทั้งสามสมรรถนะ โดยสมรรถนะความรอบรู้ในศาสตร์ ความเป็นครูสูงสุด รองลงมา คือ ความรอบรู้บริบท และความรอบรู้ผู้เรียน ตามลำดับ สำหรับสมรรถนะด้านความรอบรู้ในศาสตร์ความเป็นครู แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านวิธีการสอน ด้านเนื้อหา และด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ มีสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยนักศึกษามีสมรรถนะสูงสุด คือ ด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน และนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาพลศึกษา มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านความรอบรู้ในศาสตร์ความเป็นครูเป็นอันดับแรก รองลงมาด้านรอบรู้ผู้เรียน และด้านรอบรู้บริบทเป็นอันดับสุดท้าย

References

ราชกิจจานุเบกษา. (2548). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (5 กันยายน 2548).

เล่ม 122 ตอนพิเศษ 76ง หน้า 39-46

จุฑารัตน์ คชรัตน์, วิชุนา สัตยารักษ์, ณัฐกา นาเลื่อน, วิภาวี มณีเนตร และชูศักดิ์ นพถาวร. (2561). สมรรถนะความเป็นครูมืออาชีพของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (หน้า 347-358). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (7 พฤษภาคม 2563). เล่ม 130 ตอนพิเศษ 109ง หน้า 10-14

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2560). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) (เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ: ชลบุรี

มานูนณย์ สุตีคา และศรายุทธ เงาคำ. (2560). การประเมินความรู้ของนักศึกษาตามสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์ น. 11(1), 285-295

สุนิษา มณฑา, ณิชารีย์ ป้อมสัมฤทธิ์, วุฒิชัย พิลึก, และพิชญ์ธนพัฒน์ พรปิติภัทร. (2559). การศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครูและสมรรถนะวิชาเอกของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา : กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (หน้า 457-462). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ. (2561). มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู ฐานสมรรถนะ ของคุรุสภา. อัดสำเนา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อริยา คูหาย์ และหริรักษ์ แก้วกับทอง. (2559). สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานวิจัย: ปัตตานี.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Dechakup, P., & Kangkan, P. (2008). Teacher competency and teachers’ guidelines in changing society. Bangkok: Office of the Education Council. (in Thai)

Laohajaratsang, T. (n.d.). Learning in the modern era: Theory of future learning model. Retrieved September 12, 2017, from https://sites.google.com/site/ nattawutthebom/kar-reiyn-ru-ni-yukh-smay-hna-txn-rup-baeb-laea-thvsdi-kar-reiyn-ru-xnakht (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022

How to Cite

จรคงสี ย., บุญมี ก. ., ปัญญาไข ธ., เพร็ชนิล ส. . ., & สุพรรณ ส. . . (2022). สมรรถนะความรู้ในเนื้อหาตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/265789