การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่น โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล ศรีชาทุม นักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ชัยมงคล ปินะสา อาจารย์, อาจารย์ประจำกลุ่มวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

คลื่น, การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, ชุดการทดลอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่น ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่น ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง ระหว่างเกณฑ์ที่กำหนดกับการสอบหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง

           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนแบบวัฏจักร
การเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่น ซึ่งเป็นแบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ชุด ชุดละ 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.35 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 – 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับบเท่ากับ 0.80-1.00 และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ

 

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่น ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 ทั้งสองแผน
  2. นักเรียนได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักเรียนได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดการทดลอง มีเจตคติต่อ การเรียนวิชาฟิสิกส์ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (5.00)

References

ปิยะฉัตร์ ชัยมาลา. (2550, กรกฎาคม). ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัย บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(2): 93-101.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พัชรินทร์ ศรีพล. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). หลักการวัดและประเมินการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟ เคอร์มิสท์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ภพ เลาหไพบูลย์.(2537). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2551). การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประถมศึกษาหน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2553). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งทิพย์ ศศิธร. (2554). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบ 5E. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

________. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรณา ขุนเพ็ง. (2553). ผลการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-06-2021 — Updated on 26-05-2022