การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องหน่วยและปริมาณทางฟิสิกส์ โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้(5Es)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ด้วยชุดกิจกรรมและแบบทดสอบ เรื่อง หน่วยและปริมาณทางฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์กับเกณฑ์ โดยใช้ชุดกิจกรรมและแบบทดสอบ เรื่อง หน่วยและปริมาณทางฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง หน่วยและปริมาณทางฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 2/2563 จำนวน 60 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ ใบกิจกรรม แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยง ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าประสิทธิภาพของของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2) และสถิติทดสอบ t-test (One Sample T-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.25/62.72 ค่าประสิทธิภาพก่อนสูงและค่าประสิทธิภาพหลังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่คะแนนเฉลี่ยได้คะแนนร้อยละ 62.72 และ 3) ผลการศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง หน่วยและปริมาณทางฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .64
References
จิรัชยา วงค์ราษฏร์ (2561). ผลสัมฤทธิ์จากการใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยและการเปลี่ยนหน่วยโดยใช้ชุดกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564.
ธัญญ์นรี วรวิทย์ธานท์ (2559).ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบวิชา วิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์ครั้งที่ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสรรค์.
ธาริณี สิทธิ. (2553). การพัฒนาชุดการสอน ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่องพันธะโคเวเลนต์รายวิชาเคมีเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ/ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา ไพรสันต์. (2555). ผลการใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสารในชีวิตประจำวันที่มีต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนประจิมพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนนทบุรี.
บุญเรือน คะเซ็นแก้ว (2555). การเปรียบเทียบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์
ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครูของนักเรียนชั้นมัธยัมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วลัยลักษณ์ คตะวงศ์. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จากhttp://www.pratya.nuankaew.com /wp-content/uploads/2017/01/Academic-Achievement-20160109.pdf
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564,จาก http://www.etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-19-file06-2015-09-16-09-50-22.pdf
ธรรมชาติของความรู้ทางวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://np.thai.ac/client-upload/np/uploads/files8C(1).pdf.
แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564,จาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620103_111535_1968.pdf
ปริมาณและหน่วยทางฟิสิกส์. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://www.krukird.com/L01_1_61.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร