การพัฒนาระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
คำสำคัญ:
ระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอน, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2) พัฒนาระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาไทยในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 9 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 9 คน และอาจารย์นิเทศครูคืนถิ่น จำนวน 2 คน พื้นที่ในการทำวิจัย ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 3 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษานครพนม เขต 22 จำนวน 4 แห่ง 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมิน จำนวน 9 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักสูตรและการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และแบบประเมินการพัฒนาระบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดย
การหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย หลักสูตร ครู ผู้บริหาร นักเรียน และทรัพยากร ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์นักเรียน
การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การกำหนดเนื้อหา การกำหนดวิธีสอน การกำหนดสื่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ด้านผลผลิต ประกอบด้วย นักเรียน และครู และด้านข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย การรายงานและข้อเสนอแนะ และการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอนะ โดยประเมินความเหมาะสม ซึ่งผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) การพัฒนาระบบการออกแบบ
การจัดการเรียน การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระบบมีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการทำงานโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประกอบด้วย สร้างวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมสร้างภาวะผู้นำร่วม สร้างสรรค์การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผู้เรียน ร่วมกันออกแบบการจัดการเรียนการสอน ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยหลักสูตร ครู ผู้บริหาร นักเรียน และทรัพยากร ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์นักเรียน การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การกำหนดเนื้อหาการกำหนดวิธีสอน การกำหนดสื่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ด้านผลผลิต ประกอบด้วย นักเรียน (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตร) และครู (ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสามารถจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) ด้านข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย การรายงานผลและข้อเสนอแนะ และการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ด้านการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประกอบด้วย ได้ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้จุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้เนื้อหาในการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ได้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและศักยภาพนักเรียน ได้สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวิธีการสอน ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้เครื่องมือประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/เนื้อหา โดยประเมินการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ซึ่งผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่งผลให้ได้ระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
References
เฉลียว บุรีภักดี. (2544). การวิจัยเชิงระบบ. วารสารพัฒนศึกษาศาสตร์ ศาสตร์แห่งการเรียนรู้
และถ่ายทอดพัฒนา, 2(1), 135-145.
นิรัชกร ทองน้อย. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถม
ศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรเทพ รู้แผน. (2546). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์ วงศ์วิทยา คู่วิรัตน์.
สุภาวดี อุตรมาตย์. 2557. การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมจิต จันทร์ฉาย. (2557) .การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม: เพชรเกษม
พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
สำนักรับรองมาตรฐานการศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมิน
คุณภาพ ภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 06-05-2022 (2)
- 03-06-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร