การพัฒนาการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรควัณโรค ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบลเพชรเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ เลขตะระโก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบลเพชรเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

วัณโรค, วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ชุมชน

บทคัดย่อ

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีกำลังเผชิญปัญหาการระบาดของวัณโรคเป็น 1 ใน 14 ซึ่งเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก การศึกษาครั้งนี้มุ่งที่จะสร้างแบบจำลองการดูแล ควบคุมของวัณโรคในระดับชุมชน โดยอาศัยการร่วมมือของชุมชนช่วยในการจัดการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบระบบการพัฒนาการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรควัณโรคแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเพชรเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดเลย และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรควัณโรคแบบมีส่วนร่วมในในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
บ้านเพชรเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือ TOP Model ร่วมกับ  Plan-Do-Check-Act (PDCA) ในการดำเนินการประชุมกลุ่มแบบระดมสมองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยวัณโรคในครัวเรือน จำนวน 22 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 27 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 70 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 5 คน  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อสร้างรูปแบบโมเดลที่เหมาะสมกับชุมชน ต่อจากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโมเดลตามลักษณะกิจกรรมในโครงการ และดำเนินการสร้างแบบจำลอง เพื่อการพัฒนาความร่วมมือ
ในชุมชน ที่ชื่อว่า “Phetchareon TB Model” จากการนำแบบจำลองนี้ไปทดลองใช้ พบว่าสามารถช่วยในการจัดการปัญหาในระดับท้องถิ่น สามารถพัฒนาความร่วมมือ และนำมาสู่ผลการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับการจัดการควบคุมป้องกันวัณโรคระดับชุมชมได้เป็นอย่างดี

References

อนุวัฒน์, ศ., & กิตตินันท์, อ. (2017). HA update 2017: Performance Measurement & Evaluation. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). Retrieved from www.ha.or.th

Carpenter Group LLC. (2014). The Deming Cycle (PDSA or PDCA). Retrieved January 25, 2020, from https://www.quality-improvement-matters.com/deming-cycle.html

Clancy, C. M., Margolis, P. A., & Miller, M. (2013). Collaborative networks for both improvement and research. Pediatrics, 131(SUPPL.4), S210-4. https://doi.org/10.1542/peds.2012-3786H

Lannon, C. M., & Peterson, L. E. (2013). Pediatric collaborative improvement networks: Background and overview. Pediatrics, 131(SUPPL.4), S189-95. https://doi.org/10.1542/peds.2012-3786E

Organization World Health. (2018). GLOBAL TUBERCULOSIS REPORT 2018. Geneva: World Health Organization; Retrieved from http://apps.who.int/bookorders.

Pasiravise, S. (2019). Development Model of Child Care Center Improvement to Disease-free Standards in Waengnang Municipality, Muang Maha Sarakham District,

Maha Sarakam Province. Thesis. Mahasarakham University. Retrieved from Mahasarakham University

Staples, B. (2013). Transformational strategy: Facilitation of ToP participatory planning. iUniverse.

The institute of cultural affairs international. (2003). ICA’s Technology of Participation (ToP). Retrieved February 2, 2018, from http://www.ica-international.org

Toryanto, A. A., & Hasyim. (2017). Networking Quality and Trust in Professional Services. European Research Studies Journal, 354–370. Retrieved from https://www.um.edu.mt/library/oar/bitstream/123456789/29902/1/Networking_Quality_and_Trust_in_Professional_Services_2017.pdf

Wale, M., Kibsey, P., Young, L., Dobbyn, B., & Archer, J. (2016). New approaches to infection prevention and control: implementing a risk-based model regionally. International Journal for Quality in Health Care, 28(3), 405–411. https://doi.org/10.1093/intqhc/mzw041

World Health Organization. (2016). WHO | ENGAGE-TB: Integrating community-based TB activities into the work of NGOs and other CSOs. Retrieved January 27, 2021, from http://www.who.int/tb/areas-of-work/community-engagement/faqs/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-12-2020

How to Cite

เลขตะระโก จ. . (2020). การพัฒนาการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรควัณโรค ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบลเพชรเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 78–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/259419