This is an outdated version published on 04-12-2020. Read the most recent version.

การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 เรื่อง อัตราส่วน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS

ผู้แต่ง

  • นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เมธยา พิราราช

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 หลังได้รับการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 หลังได้รับการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS ระหว่างก่อนเกรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจในการเรียน เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 หลังได้รับการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/6 โรงเรียน ภัทรบพิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มา จากวิธีการเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และเครื่องมือเชิงคุณภาพสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัย 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 หลังได้รับการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 หลังได้รับการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วน โดยได้รับการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS อยู่ในระดับปานกลาง

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน

ยุพิน พิพิธกุล.(2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สิริพร ทิพย์คง.(2536). ทฤษฎีและวิธีการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

สมเดช บุญประจักษ์. (2540) .การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้

การเรียนแบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Krulik, S. and Rudnick, J.A. (1993). Reasoning and problem solving. Massachusetts: Allyn and Baco.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-12-2020

Versions

How to Cite

ศักดิ์ปกรณ์กานต์ น. ., & พิราราช เ. . (2020). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 เรื่อง อัตราส่วน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SSCS. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 49–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/259369