การพัฒนาทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การเขียนวรรณกรรม, แบบลงมือปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา โดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติกับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 60 ตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 27 คน ที่กำลังศึกษาวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินเกี่ยวกับการเขียนวรรณกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์วัดร้อยละการเปลี่ยนแปลงพัฒนาจากคะแนนเต็ม การวิเคราะห์สถิติทดสอบที ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1.นักศึกษามีร้อยละการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ระหว่าง33 ถึง 63.33 และนักศึกษานำเสนอการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบพร้อมทั้งอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลมีการสังเคราะห์ข้อความใหม่ที่เนื้อหาคล้ายกันเข้าด้วยกันจัดเรียงลำดับเนื้อหาอย่างเป็นระบบ
2.นักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.นักศึกษาที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติมีทักษะการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กลุ่มวิชาวัดผลการศึกษา. (2563). ผลรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5 (มคอ.5). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ณัฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2558). การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 9(1), 64-71.
ภัทราพร เกษสังข์. (2563). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. เลย: ก๊อบปี้สิบล้อแอนด์ไอที.
มัลลิกา ศิริเพ่งไพฑูรย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขาคณิต โดยใช้ทฤษฎี Constructionism เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์).
รุ่งทิพ จันทร์มุณี. (2552). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/chau atscience/prachya-prasbkarn-tam-naewhid-khxng-cxhn-di-wxi-john-dewey-su-kar-cadkar-reiyn-ru-withyasastr
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุพิชชา ทับภูมิ. (2559). พัฒนาการ 4 ด้าน เสริมได้ด้วยการลงมือทำ (Learn by doing). ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563, จาก http://supitcha044.blogspot. com/p/blog_page_37.html
Bruce, C. B., and Bloch, N. (2012). Learning by doing. Retrieved 2019, November 17, from https://doi.org/10.1007/978-1-4419-1428-6_544
Dewey, J. (1975). Experience and education. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร