อนาคตทางการศึกษา: ผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ อนุยันต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การแพร่เชื้อของ COVID-19, การป้องกันเชื้อ COVID-19, ผลกระทบและอนาคตทางการศึกษา ความปกติใหม่ของการศึกษา

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในปลายปี 2562 จากเมืองอู่ฮั่น ได้มีการระบาดไป
ทั่วโลก ซึ่งต่อมาองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ประกาศตั้งชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า COVID-19 ซึ่งย่อมาจาก "coronavirus disease starting in 2019” และต่อมา ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นโรคระบาดทั่วไปและได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการศึกษาทุกระดับทั่วโลก ทำให้สถานศึกษาเกือบทุกแห่งทั่วโลกต้องปิดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง และเกิดความเปลี่ยนแปลงของโลกการศึกษาจากวิกฤติ COVID-19 คือ จากนักเรียนที่ไม่สามารถมาโรงเรียนได้ แต่การเรียนการสอนต้องดำเนินงานต่อ เพื่อคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียน นั่นก็คือคุณภาพของประชากรในอนาคต จึงทำให้สถาบันการศึกษาทุกระดับมีการปรับการเรียนสอนในหลายรูปแบบเกิดนวัตกรรมทางความคิดรูปแบบใหม่ทางการเรียนการสอน ให้นักเรียนสามารถเรียนได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม โดยใช้แนวคิดทางการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้สื่อออนไลน์ เข้ามาเป็นส่วนช่วยแก้ปัญหาทางการเรียนการสอน การทำงานก็เช่นเดียวกัน ทั้งบุคลากรทางการศึกษา ครู อาจารย์และพนักงานก็ทำงานที่บ้าน แต่ไม่สามารถดำเนินงานได้สมบูรณ์ เพราะข้อจำกัดทางการสื่อสารและเทคโนโลยีที่เข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ผลกระทบต่อทางการศึกษาครั้งนี้  มีผลโดยตรงต่อนักศึกษาซึ่งเป็นกำลังของชาติ และส่งผลกระทบในระยะยาว ทำให้เกิดระบบการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ สถาบันการศึกษาทุกระดับต้องปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน และต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพื่ออนาคตทางการศึกษา หรือ ความปกติใหม่ของการศึกษาต่อไป

References

ณิชากร พิทยาพงศกร. (2563). TDRI New Normal ของการศึกษาไทย คืออะไร เมื่อเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก, https:// tdri.or.th/ 2020/05/ desirable-new-normal-for-thailand-education.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. วารคุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, 1(2), 1-10.

มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย. (2563). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทย. ค้นเมื่อ

ธันวาคม 2563. จาก, https://www.kenan-asia.org/ th/covid-19-education-impact/ มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย.

ราชบัณฑิตยสภา, (2563). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์ "New Normal" ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่. ค้นเมื่อ

ธันวาคม 2563, จาก, https://www.amarintv.com/news/detail/30902

วิกิพีเดีย. (2563). การระบาดทั่วของโควิด-19. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563, จาก, https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วของโควิด-19

วิกิพีเดีย. (2563). การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ.2563. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563, จาก, http://www.th.wikipedia.org/wigi/การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย_พ.ศ._2563.

ศูนย์ข้อมูล COVID-19. (2563). 6 มาตรการหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา.ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก, https://www.hfocus.org/content/2020/06/19486.

องค์การอนามัยโลก. (2563). คุณรู้หรือไม่ว่า COVID-19 แพร่กระจายอย่างไร?. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563,

จาก, https://www.zizper.com/blog/1/first-blog

The Secret Sauce. (2563). อนาคตการศึกษาหลังโควิด-19 เป็นอย่างไร โรงเรียนยังจำเป็นอยู่ไหม. ค้นเมื่อ

ธันวาคม 2563, จาก, https://mb.com. ph/2020/ 08/09/three-keys-to-education-in-the-new-normal/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-12-2020

How to Cite

อนุยันต์ เ. . . (2020). อนาคตทางการศึกษา: ผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 14–25. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/259273

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ