การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิด

ผู้แต่ง

  • แพรวนภา เรียงริลา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การสะท้อนคิด, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ , การคิดไตร่ตรอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานวิจัยและวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิดเพื่อหาข้อสรุปความรู้รวมที่ได้จากการวิจัย จากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิดนำข้อมูลงานวิจัยมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิดพบว่า 1) วัตถุประสงค์ในการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 5 วัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ (1.1) เพื่อเปรียบเทียบการสะท้อนคิด (1.2) เพื่อหาความแตกต่างของการสะท้อนคิดก่อนและหลังการทดลอง (1.3) เพื่อศึกษาผลของกระบวนการ (1.4) เพื่อศึกษาความคิดเห็น และ (1.5) เพื่อพัฒนาหลักสูตร/รูปแบบการเรียนรู้ 2) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย พบว่า มีการศึกษาในกลุ่มนิสิต/นักศึกษาครู มากที่สุด ซึ่งงานวิจัยที่พบส่วนใหญ่จะพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลาย เพื่อสร้างเสริมทักษะการสะท้อนคิด 3) การสะท้อนคิด พบว่า การสะท้อนคิด
มีเนื้อหาครอบคลุม 3 ประการคือ (3.1) วิธีการที่ใช้ในการพัฒนาการสะท้อนคิด ได้แก่ การฝึกอบรม การใช้รูปแบบการเรียนรู้ ใช้โปรแกรมจัดการเรียนรู้โมเดลการสอน และกิจกรรมและเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาการสะท้อนคิด (3.2) การใช้การสะท้อนคิดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พบว่ามี 2 ลักษณะ คือ (1) การใช้กระบวนการสะท้อนคิด และรูปแบบการสอนเพียงวิธีเดียว (2) การใช้การสะท้อนคิดร่วมกับวิธีการสอนหรือรูปแบบการสอนอื่น ๆ 4) รูปแบบการสะท้อนคิด พบว่า การสะท้อนคิดมี 3 รูปแบบ คือ (4.1) รูปแบบการสะท้อนคิดแบบเล่าสรุปเรื่องราว (narrative reflection) เป็นการเล่าเรื่องจากการคิดย้อนกลับ (4.2) รูปแบบการสะท้อนคิดแบบวิเคราะห์เหตุผล (technical reflection) ผู้คิดได้วิเคราะห์ถึงเหตุและผล และสรุปเหตุผลได้ (4.3) รูปแบบการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical reflection) เป็นกระบวนการที่ย้อนคิดพิจารณาและประเมินผลประสบการณ์ในอดีต

References

กรรณิกา วิชัยเนตร. (2557) “การสะท้อนคิด: การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล” วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 190-198.

ชุลีกร ยิ้มสุด. (2552). การพัฒนาการคิดไตร่ตรองและพฤติกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูประถมศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เชษฐา แก้วพรม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2(24), 12-20.

ธีรพล เพียรเพ็ง. (2556). ผลการสะท้อนคิดด้วยวิดีทัศน์ตามแนวคิดวงจรกิบส์ในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ จันทร์ลอย. (2550). การสะท้อนความคิดและผลการเรียนรู้ เรื่องหน่วยของชีวิต โดยใช้โมเดลการเรียนรู้รูปแบบเจนเนอเรทีฟของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาศึกษาศาสตร์-การสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ: การทดลองแบบพหุกรณีศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยฉัตร กลิ่นสุวรรณ. (2559) “การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนสวัสดิการสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ (SW4243)” ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 11(22), 25.

ปรีญา สมพืช. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนผสมผสานโดยใช้กรณีศึกษาตามแนวโยนิโสมนสิการเพื่อพัฒนาการคิดไตร่ตรองและตัดสินใจเชิงจริยธรรมวิชาชีพวิชาชีพสื่อมวลชนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการตอบสนองต่อวรรณคดี การอ่านเพื่อความเข้าใจ และการคิดไตร่ตรองของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลรพี ทุมมาพันธ์. 2545. ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการที่มีต่อความสามารถด้านการคิดสะท้อนของครูระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษิต ประมวลศิลป์ชัย. (2548). การศึกษากระบวนการและผลของการพัฒนาความสามารถในการคิดไตร่ตรองของครูประจำการโดยใช้วิธีการสะท้อนความคิดแบบผสมผสาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวนารถ โพธิ์มี. (2553). ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิด โดยใช้ข่าวและเหตุการณ์สำคัญในชีวิตประจำวัน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมที่มีต่อความสามารถในการคิดสะท้อน ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีกร ทองสุขดี. (2545). การเขียนสะทอนความคิด : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ศึกษาศาสตร์สาร, 29(2), 45-51.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2541). การพัฒนารูปแบบการสอนสาหรับวิชาสอนทั่วไปแบบเน้นกรณีตัวอย่างเพื่อส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาครูด้านการคิดวิเคราะห์แบบตอบโต้ในศาสตร์การสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิยะดา รัตนสุวรรณ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดไตร่ตรองของอาจารย์พยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุจิกา ศรีนันทกุล. (2551). ผลของการเรียนแบบสืบสอบเชิงปรัชญาบนเว็บบล็อกที่มีต่อการคิดไตร่ตรองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวิง หน่อแก้ว. (2548). การใช้รูปแบบการสอนกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะท้อนความคิดของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสะท้อนคิดของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Badger, J. (2010). Assessing Reflective Thinking: Pre-Service Teachers' and Professors' Perceptions of an Oral Examination. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, Retrieved from http://www.tandf.co.uk/journals.

Dewey, J. (1933). How We Think. A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. (Revised edn.), Boston: D. C. Heath Brilliant.

Good, T. L., & Brophy, J. E. (1997). Looking in classrooms. New York: Longman.

Hatton, N., & Smith, D. (1995). Reflection in teacher education: Towards definition and implementation. Teaching and teacher education, 11(1), 33-49.

Kowalke, L. (1998). Variation: A Tale of Two Students. In H. Daniels and M. Bizar (Eds.) Methods That Matter: Six Structures for Best Practice Classrooms. New York:Stemthose Publisher.

Taggart, G. L., & Wilson, A. P. (2005). Promoting reflective thinking in teachers: 50 action strategies. Thousand Oaks, California: Corwin Press.

Weber, S. S. S. (2013). Can preservice teachers be taught to become reflective thinkers during their first internship experience? Retrieved from http://www.tandf.co.uk/journals

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-12-2020

How to Cite

เรียงริลา . . . . . แ. . (2020). การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิด . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/258156