ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ประภัสสร ดิษสกุล
แอนจิรา ศิริภิรมย์
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

摘要

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ โดยกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning) ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 246 คน จาก 82 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูผู้สอน โรงเรียนละ 2 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวความคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่าการบริหารโรงเรียนที่มีความจำเป็นสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน รองลงมา คือ นโยบาย สภาพแวดล้อม การบริหารจัดการ หลักสูตรและการสอน และที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาครู และมาตรฐานและการประเมินผล ในด้านการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีความจำเป็นสูงสุด คือ การนำเสนอผลงาน รองลงมา คือ การฝึกใช้จินตนาการ การกระตุ้นความคิดและการแก้ปัญหา การกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ การเรียนรู้ร่วมกัน การประเมินผลงาน และที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง และกิจกรรมการเรียนรู้

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ดิษสกุล ป., ศิริภิรมย์ แ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. (2021). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 7(2), 187–203. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254785
栏目
Articles

参考

ไกรยส ภัทราวาท. (2556). ความคิดสร้างสรรค์ สิ่งจำเป็นต่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์.ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559.จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359702484.

ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2557). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรจง อมรชีวิน. (2554). สอนให้คิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (พ.ศ.2560-2579). ค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559,จาก http://www.nesdb.go.th/article_attach/article_file_20160922162840.pdf.

ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา: การสร้างทฤษฎีจากฐานราก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาออกแบบตกแต่งภายใน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). การบริหารโดยสถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน: ความท้าทายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1): 101-111.

สุกรี วัชรพรรณ และสุนันท์ ปัทมาคม. (2529). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชากลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชัย พันธเสน. (2558). งานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Awang, H., and Ramly, I. (2008). Creative Thinking Skill Approach through Problem-Based Learning: Pedagogy and Practice in Engineering Classroom. World Academy of Science, Engineering and Technology International Journal of Educational and Padagogical Sciences, 2(4): 334-338.

Eragamreddy, N. (2013). Teaching Creative Thinking Skills. International Journal of English Language & Translation Studies, 1(2): 124-143.

Lin, Y.S. (2011). Fostering Creativity through Education–A Conceptual Framework of Creative Pedagogy. National Academy for Educational Research, 2(3): 149-153.

Robert Sternberg and Wendy. (2003). How to Develop Students Creativity. Association for Supervision & Curriculum Development.

Robinson K., and Aronica, L. (2015). Creative school. U.S.A: Viking Penguin lll.

Schirrmacher, R. (1998). Art and Creative Development for Young Children. New York: Delmar Publishers.

Sharp, C. (2004). Developing young children’s creativity through the arts: what does research have to offer?’. Paper presented to an Invitational Seminar, Chadwick Street Recreation Centre, London, 14 February Retrieved on 13th January 2004, from http://www.nfer.ac.uk/research/papers/ creativity.pdf