วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ เป็นวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสื่อกลางในการสนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่ ผลงานวิจัยในด้าน บริหาร เศรษฐศาสตร์ บัญชี การเงินและการธนาคาร การบริหารจัดการทั่วไป การท่องเที่ยวการโรงแรมและการบริการ การบริหารการขนส่ง ซัพพลายเชน และโลจิสติกส์  ศาสตร์อื่น ๆ ทีเกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อค้นพบใหม่ ๆ ระหว่างนักวิจัย และสังคมภายนอก อีกทั้งมีเป้าหมายในการสื่อสารทางวิชาการอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์

          บทบาทหน้าที่สำหรับบุคคลในวารสาร มี 3 กลุ่ม คือ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ซึ่งได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในบทบาทและหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียดดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

          1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณา กลั่นกรอง และควบคุมคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารให้เป็นไปตามขอบเขต วัตถุประสงค์ และมาตรฐานของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพก่อนการตีพิมพ์

          2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ ผู้กลั่นกรอง และต้องรับผิดชอบในการรักษาข้อมูล

          3. บรรณาธิการต้องปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์ด้วยเหตุผลเชิงวิชาการ พิจารณาบทความด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติต่อบทความและผู้นิพนธ์ อาทิ ด้านสังกัด ด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัฒนธรรม ทัศนคติด้านการเมืองของผู้นิพนธ์ ฯลฯ

          4. หากตรวจสอบพบว่า มีการคัดลอก หรือลอกเลียนจากบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการตัดแปลงข้อมูลบรรณาธิการสามารถดำเนินการถอดถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

          5. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือผู้กลั่นกรอง และต้องไม่นำผลงานหรือวารสารไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือนำไปเป็นผลงานของตนเอง

          6. บรรณาธิการไม่ควรเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

          1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความ พิจารณาบทความภายใต้เหตุผลเชิงวิซาการ พิจารณาบทความด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติต่อบทความและผู้นิพนธ์ อาทิ ด้านสังกัด
ด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัฒนธรรม ทัศนคติด้านการเมืองของผู้นิพนธ์ ฯลฯ

          2. ผู้ทรงคุณวุฒิบทความต้องตระหนักว่า ตนเองมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ตรงกับบทความที่ประเมินอย่างแท้จริง

          3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน

          4. ผู้ทรงคุณวุฒิบทความต้องให้ข้อเสนอแนะตามหลักวิชาการแก่ผู้นิพนธ์ และต้องรักษาข้อมูลต่าง ๆ ของบทความ โดยไม่เผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ จนกว่าบทความนั้นจะได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ

          5. หากผู้ทรงคุณวุฒิบทความพบว่า ข้อความ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความมีความเหมือน หรือคัดลอกมาจากผลงานอื่น ผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบผ่านกระบวนการและเป็นลายลักษณ์อักษรทันที

          6. ผู้ทรงคุณวุฒิบทความต้องรักษาเวลาการประเมินตามกรอบเวลาที่ทางวารสารกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

          1. เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ผู้นิพนธ์มีการคิด ค้นคว้า ทบทวน วิเคราะห์ สรุป เรียบเรียง และอ้างอิงข้อมูลโดยผู้เขียนเองกองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบใด ๆ

          2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

          3. บทความที่ดีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องไม่เคยได้รับกรตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำช้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว ในการละมิดลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร

          4. บทความวิจัยและบทความทางวิชาการทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นบทความที่ได้รับการตรวจอ่านประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในสถาบันตามหลักเกณฑ์การตรวจประเมินอย่างน้อย 3 ท่าน ซึ่งการประเมินต้องเป็นการประเมินแบบอำพรางระหว่างผู้ประเมินและเจ้าของผลความทั้ง 2 ฝ่าย (double blinded)

          5. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาบทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง เฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น โดยผู้ส่งต้องแนบหลักฐานการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองมาพร้อมบทความที่ส่งให้กองบรรณาธิการวารสารพิจารณา

          6. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง