ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ โดยกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning) ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 246 คน จาก 82 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูผู้สอน โรงเรียนละ 2 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวความคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่าการบริหารโรงเรียนที่มีความจำเป็นสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน รองลงมา คือ นโยบาย สภาพแวดล้อม การบริหารจัดการ หลักสูตรและการสอน และที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาครู และมาตรฐานและการประเมินผล ในด้านการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีความจำเป็นสูงสุด คือ การนำเสนอผลงาน รองลงมา คือ การฝึกใช้จินตนาการ การกระตุ้นความคิดและการแก้ปัญหา การกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ การเรียนรู้ร่วมกัน การประเมินผลงาน และที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง และกิจกรรมการเรียนรู้
Article Details
References
ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2557). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บรรจง อมรชีวิน. (2554). สอนให้คิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (พ.ศ.2560-2579). ค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559,จาก http://www.nesdb.go.th/article_attach/article_file_20160922162840.pdf.
ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา: การสร้างทฤษฎีจากฐานราก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาออกแบบตกแต่งภายใน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). การบริหารโดยสถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน: ความท้าทายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1): 101-111.
สุกรี วัชรพรรณ และสุนันท์ ปัทมาคม. (2529). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชากลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชัย พันธเสน. (2558). งานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
Awang, H., and Ramly, I. (2008). Creative Thinking Skill Approach through Problem-Based Learning: Pedagogy and Practice in Engineering Classroom. World Academy of Science, Engineering and Technology International Journal of Educational and Padagogical Sciences, 2(4): 334-338.
Eragamreddy, N. (2013). Teaching Creative Thinking Skills. International Journal of English Language & Translation Studies, 1(2): 124-143.
Lin, Y.S. (2011). Fostering Creativity through Education–A Conceptual Framework of Creative Pedagogy. National Academy for Educational Research, 2(3): 149-153.
Robert Sternberg and Wendy. (2003). How to Develop Students Creativity. Association for Supervision & Curriculum Development.
Robinson K., and Aronica, L. (2015). Creative school. U.S.A: Viking Penguin lll.
Schirrmacher, R. (1998). Art and Creative Development for Young Children. New York: Delmar Publishers.
Sharp, C. (2004). Developing young children’s creativity through the arts: what does research have to offer?’. Paper presented to an Invitational Seminar, Chadwick Street Recreation Centre, London, 14 February Retrieved on 13th January 2004, from http://www.nfer.ac.uk/research/papers/ creativity.pdf