คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษกับคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 3) เปรียบเทียบความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ของนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ จำแนกตามข้อมูลทั่วไป 4) เปรียบเทียบการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ของนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ จำแนกตามข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตและเข้าพักที่โรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การเดินทางแบบให้รางวัลตัวเอง มีลักษณะของการเดินทาง คือ ใช้บริการบริษัทนำเที่ยว ผู้ร่วมเดินทาง คือ เพื่อน พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง คือ รถเช่า ค่าใช้จ่ายด้านที่พักในแต่ละครั้งต่อคืน คือ 2,001-3,000 บาท ช่วงเวลาที่เดินทาง คือ เดือนตุลาคม–ธันวาคม ช่องทางการรับทราบข้อมูลการเข้าพัก คือ สังคมออนไลน์ และประเภทของโรงแรมที่เข้าพัก คือ โรงแรมระดับ 2 ดาว 2) คุณภาพการบริการที่รับรู้ของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.41 โดยมีการรับรู้ลำดับแรก คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ 3) นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษที่มีเพศต่างกัน มีสัญชาติ สถานภาพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษที่มีเพศ อายุ สัญชาติ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน อาชีพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ด้านการให้ความมั่นใจ และด้านการเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ ไม่แตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
สุวรรณพงศ์ ข. (2020). คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(2), 44–56. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246215
栏目
Articles

参考

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558, จาก http:www.tourism.go.th//61.19.236.137/tourism/th/home/index.php

กฤษมาพร พึ่งโพธิ์. (2554). การเปรียบเทียบคุณภาพบริการที่คาดหวังและรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2554). ความหมายของคุณภาพการบริการ. ค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558, จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1285&pageid= 3&read=true&count=true

พชร เกษโกศล และ จิตต์โสภิณ มีระเกตุ. (2561). อิทธิพลของคุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรมและรีสอร์ทในเขตพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3): 102 - 114.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.

วรสุภา ชมวงศ์. (2552). คุณภาพการบริการของอุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทย: กรณีเปรียบเทียบระหว่างโรงแรมบูติกและโรงแรมธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดภูเก็ต 2558. ค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559, จาก www.phuket.nso.go.th

อนุชิดา พลายอยู่วงศ์. (2557). ความพร้อมในการให้บริการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้ประกอบการรถทัวร์ปรับอากาศสายอีสาน - เหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kuester, Subine. (2012). MKT301: Strategic Marketing & Marketing in Specific Industry Contexts, University of Mannheim.

Parasuraman, Valaria A. Zeithaml, and Leonard L. Berry. (2008). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.