คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ

Main Article Content

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษกับคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 3) เปรียบเทียบความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ของนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ จำแนกตามข้อมูลทั่วไป 4) เปรียบเทียบการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ของนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ จำแนกตามข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตและเข้าพักที่โรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การเดินทางแบบให้รางวัลตัวเอง มีลักษณะของการเดินทาง คือ ใช้บริการบริษัทนำเที่ยว ผู้ร่วมเดินทาง คือ เพื่อน พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง คือ รถเช่า ค่าใช้จ่ายด้านที่พักในแต่ละครั้งต่อคืน คือ 2,001-3,000 บาท ช่วงเวลาที่เดินทาง คือ เดือนตุลาคม–ธันวาคม ช่องทางการรับทราบข้อมูลการเข้าพัก คือ สังคมออนไลน์ และประเภทของโรงแรมที่เข้าพัก คือ โรงแรมระดับ 2 ดาว 2) คุณภาพการบริการที่รับรู้ของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.41 โดยมีการรับรู้ลำดับแรก คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ 3) นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษที่มีเพศต่างกัน มีสัญชาติ สถานภาพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษที่มีเพศ อายุ สัญชาติ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน อาชีพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ด้านการให้ความมั่นใจ และด้านการเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สุวรรณพงศ์ ข. (2020). คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 44–56. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246215
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สรุปสถิติการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558, จาก http:www.tourism.go.th//61.19.236.137/tourism/th/home/index.php

กฤษมาพร พึ่งโพธิ์. (2554). การเปรียบเทียบคุณภาพบริการที่คาดหวังและรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2554). ความหมายของคุณภาพการบริการ. ค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558, จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1285&pageid= 3&read=true&count=true

พชร เกษโกศล และ จิตต์โสภิณ มีระเกตุ. (2561). อิทธิพลของคุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรมและรีสอร์ทในเขตพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3): 102 - 114.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.

วรสุภา ชมวงศ์. (2552). คุณภาพการบริการของอุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทย: กรณีเปรียบเทียบระหว่างโรงแรมบูติกและโรงแรมธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดภูเก็ต 2558. ค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559, จาก www.phuket.nso.go.th

อนุชิดา พลายอยู่วงศ์. (2557). ความพร้อมในการให้บริการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้ประกอบการรถทัวร์ปรับอากาศสายอีสาน - เหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kuester, Subine. (2012). MKT301: Strategic Marketing & Marketing in Specific Industry Contexts, University of Mannheim.

Parasuraman, Valaria A. Zeithaml, and Leonard L. Berry. (2008). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.