การพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Keywords:
สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น, ผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน, Local curriculum, Tai Lue fabric from NanAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน กับหลังเรียนสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับผ้าทอไทลื้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจากใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2 ขั้นตอนดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน 2) การพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และ 3) การทดลองใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 2 โรงเรียนปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 39 คน ได้รับการเลือกจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก โดยได้รับการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอน สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง โดยศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน(pre-test) กับหลังเรียน(post-test) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่องผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่าน อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว