การศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องเบญจรงค์ ของหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

Authors

  • สมพัทธ์ ทิพย์มงคล
  • อธิพัชร์ วิจิตสถิตรัตน์

Keywords:

หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี, การทำเครื่องเบญจรงค์, Traditional Five-Colored Thai, Benjarong Don Kai Dee Community

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องเบญจรงค์ กระบวนการผลิตและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องเบญจรงค์ของหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร รวมไปถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย

          ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องเบญจรงค์ของหมู่บ้านดอนไก่ดีนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ยุคสมัย คือ 1. ยุคเริ่มต้น 2. ยุคฟื้นฟู และ 3. ยุครุ่งเรือง ทั้ง 3 ยุคสมัยนี้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เหมือนกันคือการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริงไปพร้อมกัน และในปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้ยังคงยึดหลักการเรียนรู้จากงงานจริง เพราะการทำเบญจรงค์เป็นงานฝีมือที่ไม่สามารถจับมือใครทำได้ ผู้ที่สนใจจะเรียนรู้ต้องมีความต้องการที่จะเรียนรู้จริงเท่านั้น ต้องมีเวลามากพอในการเรียนรู้ ถึงจะประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง

          กระบวนการผลิตเครื่องเบญจรงค์ของหมู่บ้านดอนไก่ดียังคงอนุรักษ์การผลิตในรูปแบบของโบราณ เป็นหัตถกกรรมเชิงประณีตที่ใช้มือทำเท่านั้นปราศจากเทคโนโลยีและเครื่องจักรใดๆ ขั้นตอนการทำมีรูปแบบที่ชัดเจน คือ 1. เตรียมเครื่องขาว 2. เขียนลาย 3. ลงสี 4. วนทอง 5. เผาเคลือบ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์จนมีการตกผลึกทางความคิดและนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรมที่ทรงคุณค่า บนพื้นฐานแห่งปัญญา สิ่งที่มีส่วนในการพัฒนารูปแบบของเครื่องเบญจรงค์ให้สอดคล้องตามยุสมัยคือ ความรู้สึก การสังเกต การคิดและการปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย