การสร้างกลวิธีการพัฒนาคุณภาพเสียงจะเข้ในการบรรเลงเดี่ยว จากครูจะเข้ที่สืบทอดกลวิธีการบรรเลงจากโบราณาจารย์

Authors

  • ธิติ ทัศนกุลวงศ์

Keywords:

จะเข้, การบรรเลงเดี่ยว, Jakae, Being Traditionally

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาการสร้างกลวิธีการพัฒนาคุณภาพเสียงจะเข้ในการบรรเลงเดี่ยวจากครูจะเข้ที่สืบทอดกลวิธีการบรรเลงจากโบราณาจารย์ ในครั้งนี้พบว่า ครูจะเข้ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ซึ่งสืบทอดวิชาการบรรเลงเดี่ยวจากโบราณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการบรรเลงเดี่ยว  4 ท่าน มีหลักการสร้างกลวิธีการพัฒนาคุณภาพเสียงจะเข้ในการบรรเลงเพลงเดี่ยวที่คล้ายคลึงกัน คือ การรักษาแบบแผนการนั่ง และการจับเครื่องดนตรีตามวิธีการสาธิตของครูที่ถ่ายทอดให้  ซึ่งเรียกว่ามุขปาฐะ (Oral transmission) โดยเมื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการดังกล่าวพบว่า มีหลักการนั่งเดียวกัน  ส่วนการจับเครื่องดนตรีเพื่อบรรเลงของแต่ละสำนัก มีวิธีการคล้ายกัน คือ สร้างกลวิธีพัฒนาคุณภาพเสียงในการเดี่ยวจะเข้ได้โดย การสำรวจเครื่องดนตรีก่อนบรรเลงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แบบ  และรักษากลวิธีการดีดทุกรูปแบบด้วยการเน้นการกดนิ้วซ้ายที่หนักแน่น  ร่วมกับการใช้มือขวาที่สัมพันธ์กันสำหรับการดีดทำนองช้า และเร็ว หรือด้น โดยเน้นการปัดไม้ดีดให้หนักแน่นเท่ากันทั้งปัดเข้าและปัดออก ส่วนกลวิธีที่พิเศษในการบรรเลงต่าง ๆ ทุกรูปแบบกลวิธีการเดี่ยวต้องวิเคราะห์  แล้ววางแผนการเดี่ยว โดยกระจายช่องไฟระยะห่างตัวโน้ตให้น่าฟัง รวมทั้งการควบคุมเสียงหนัก –เบา ให้มีความไพเราะตลอดจนรักษารูปแบบจังหวะของเพลงที่นำมาเดี่ยว  โดยวิธีการต่าง ๆ ทั้งหมดควรศึกษาจากครูผู้ถ่ายทอด ทั้งควรสืบทอดอัตลักษณ์ของการบรรเลงที่แตกต่างในแต่ละสำนัก หรือครูผู้สอนจะเข้

          นอกจากนี้ยังต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุน 2 ประการคือประการแรก การใช้โสตประสาท และการสังเกต ในการเรียนการสอนเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของเสียงแล้วพัฒนาด้วยการฝึกฝนจากการถ่ายทอด  จากนั้นใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควบคุมให้เกิดเสียงจะเข้ที่มีความชัดเจน ประการที่สองการศึกษาบทเพลงที่บรรเลงเพลงต่าง ๆ มาอย่างชำนาญ และแตกฉาน หรือเชี่ยวชาญ  จึงจะสามารถบรรเลงพัฒนาคุณภาพเสียงได้ตามต้องการ

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย