กรณีศึกษาผลงานนาฏศิลป์ร่วมสมัยชุด Homelessness : โดยมุ่งเสนอประสิทธิภาพการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้แสดงและผู้ชม

Authors

  • ธนกร สรรย์วราภิภู

Keywords:

นาฏศิลป์ร่วมสมัย, สุนทรียศาสตร์

Abstract

บทนำ

    การเชื่อมโยงระหว่างสุนทรียศาสตร์ของผู้สร้างสรรค์กับผู้ชมมีความผูกพันธ์กันมาอย่างแยกไม่ออก ซึ่งการเชื่อมโยงมักเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาและบริบทของสังคมในช่วงนั้น ๆ ขึ้นอยู่ที่ว่าในช่วงเวลานั้นใครหรือแนวคิดแบบใดที่มีอิทธิพลต่อผู้ชมและสามารถสร้างให้ผู้บริโภคคล้อยตามได้ (เกษม เพ็ญภินันท์,สัมภาษณ์, 2559) ไม่เฉพาะศิลปะการออกแบบ ภาพวาด จิตรกรรม ประติมากรรม หรือสถาปัตยกรรมเท่านั้นที่สะท้อนมุมมองที่มีต่อบริบททางสังคมและพฤติกรรมของผู้ชม

    นาฏศิลป์ คือ อีกหนึ่งศาสตร์ในศิลปะที่สามารถสะท้อนความเชื่อมโยงระหว่างสุนทรียศาสตร์และพฤติกรรมของผู้ชม จากอดีตที่ผู้คนร่ายรำเพื่อแสดงออกแสดงการบูชาเคารพต่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติแสดงออกโดยการร่ายรำเป็นหมู่ไม่มีการจัดระบบระเบียบของการแสดงถูกพัฒนารูปแบบโดยใช้การร่ายรำเป็นเครื่องมือในการเข้าสังคมไปจนถึงเป็นเครื่องมือที่กำหนดชนชั้นทางสังคม มีการจัดระบบระเบียบให้ผู้แสดงและผู้ชมแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจนมาถึงนาฏศิลป์สมัยใหม่และนาฏศิลป์ร่วมสมัยการแสดงนาฏศิลป์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการร่ายรำออกจากกฏข้อบังคับทั้งหลายรวมถึงการแบ่งแยกระหว่างผู้แสดงและผู้ชม ในช่วงเวลานี้พื้นที่การแสดงไม่จำเป็นต้องอยู่บนเวทีอีกต่อไปผู้แสดงสามารถใช้พื้นที่ที่ตนเองเห็นว่ามีความเหมาะสมใช้ในการแสดงเพื่อแสดงความอิสระและเสรีภาพทางความคิดของศิลปินและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้แสดงความคิดเห็นเช่นกัน (Maria del Pilar Naranjo Rico,  2016,Merce Cunningham: online)นาฏศิลป์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกทางความคิดของศิลปินที่มีต่อสังคมในขณะนั้น มีการพัฒนารูปแบบการแสดงให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมเพื่อก่อให้เกิดการสนทนา การแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์โดยมีนาฏศิลป์เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้สร้างสรรค์และผู้ชม(เกษม เพ็ญภินันท์, สัมภาษณ์, 2559) ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบการแสดงที่หลากหลายแต่ปัญหาที่ผู้สร้างสรรค์มักจะได้รับคือผลตอบรับจากผู้ชมที่ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อสารได้เนื่องจากการแสดงถูกถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ซึ่งในหลายครั้งไม่ตรงกับประสบการณ์ของผู้ชมทำให้เกิดการคาดเดาและสงสัยในการรับชมผลงานทางนาฏศิลป์ ถึงแม้ว่าจะมีผู้กล่าวว่าการชมผลงานศิลปะไม่จำเป็นต้องเข้าใจแต่ในความเป็นจริงหากเกิดความไม่เข้าใจในผลงานการแสดงอาจทำให้ผู้ชมเกิดการปฏิเสธการแสดงนั้น ๆ ได้ในทันที

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ